Page 54 - kpiebook66032
P. 54
) จัดตั้งศูนย์ซ่อมสร้างสุขชุมชน: เครือข่ายเข้มแข็งทั้งรัฐ เอกชน และประชาสังคม
หลังจากมีกองทุนฟื้นฟูฯ ตั้งแต่ พ.ศ. 2558 แล้วนั้น ในช่วงปลาย พ.ศ. 2560 ก็ได้มี
การมานั่งพูดคุยกันถึงปัญหานานับปการในการดูแลคนพิการ จึงทำให้เกิดแนวคิดว่า ในพื้นที่
ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD) คนพิการเหล่านี้เลย
ของจังหวัดสงขลานั้นน่าจะมีการเปิดศูนย์ซ่อมอุปกรณ์ของคนพิการขึ้นมาสัก 1 แห่ง เพราะ
ในเวลานั้นทั้งในจังหวัดสงขลา และจังหวัดภาคใต้ยังไม่มีศูนย์ซ่อมแซมกายอุปกรณ์ให้กับ
ที่น่าเศร้าใจคือ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลา
ที่มีหน้าที่ดูแลในเรื่องนี้ ก็ได้จัดอบรมการซ่อมแซมอุปกรณ์ต่าง ๆ ขึ้นมาก่อนแล้ว แต่สุดท้ายคน
ที่ไปอบรมการซ่อมแซมอุปกรณ์ที่กรุงเทพฯ เหล่านั้น เมื่อกลับมาก็มิได้มีการดำเนินการต่อ
จุดสำคัญคือ หากสามารถจัดให้มีศูนย์ซ่อมขึ้นได้ ก็จะเกิดประโยชน์กับผู้พิการอย่างมาก
เพราะโดยปกติหากกายอุปกรณ์หรือวีลแชร์ชำรุด ผู้พิการก็นำไปซ่อมที่ร้านซ่อมรถหรือ
ร้านซ่อมจักรยาน ซึ่งบางร้านเขาก็ซ่อมให้ แต่บางร้านเขาก็ไม่ซ่อมให้ 28
ซึ่งก็สอดคล้องกับมุมมองของตัวแทนสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของ
มนุษย์จังหวัดสงขลา ที่ประสบปัญหากายอุปกรณ์ที่ชำรุด และถูกวางทิ้งกองในพื้นที่ต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นใต้บันไดโรงพยาบาล ใต้บันไดของสำนักงานฯ และบริเวณบ้านพักข้าราชการ
โดยที่ไม่ได้ถูกซ่อมและไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ ซึ่งในภารกิจของ สำนักงานพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลา ก็พยายามหาวิธีปลุกชีพอุปกรณ์ที่ชำรุดเหล่านั้น ด้วยการ
จัดหาคนมาเข้าอบรมการซ่อมกายอุปกรณ์ แต่สิ่งที่ได้คือ
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น แต่เมื่อ พม.นำเรื่องนี้มาคุยกับ อบจ.สงขลา และทราบว่าทาง อบจ. คิดจะทำ
“เมื่อรุ่นแรกอบรมไปแล้ว ก็แทบไม่ได้เกิดประโยชน์ ทำอะไรไม่ได้เลย
ศูนย์ซ่อมฯ ในการนำกายอุปกรณ์ที่ชำรุดมาซ่อมแซมให้ผู้พิการดีกว่าที่วางทิ้งไว้
เพราะที่ผ่านา พม. เน้นการซื้อกายอุปกรณ์แล้วแจกแก่ผู้ป่วยในแต่ละปีจำนวน
มาก ซึ่งเอาเข้าจริง ๆ ระหว่างการใช้งานจะต้องมีบ้างที่ชำรุดหรืออะไหล่บางชิ้น
เสื่อมสภาพ แต่ก็ไม่เคยคิดหาหนทางในการซ่อมแซมกายอุปกรณ์ที่ชำรุดเลย” 29
28 Personal communication, 31 พฤษภาคม 2566.
29 Personal communication, 31 พฤษภาคม 2566.
สถาบันพระปกเกล้า