Page 58 - kpiebook66032
P. 58
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา และกลไกการทำงานร่วมกับเครือข่าย
ในความเป็นองค์การบริหารส่วนจังหวัด ที่มิได้มีเขตรับผิดชอบชัดเจนเหมือน
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ดังนั้นบทบาทการทำงานจึงต้องเน้นไปที่การประสานงานและ
ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD) จากหน่วยงานที่มีภารกิจใกล้เคียงกัน มีความเกี่ยวข้องกัน มีทิศทางในการทำงานคล้ายกัน และ
บริหารจัดการ และสิ่งสำคัญคือ ต้องแสวงหาเครือข่ายมาทำงานร่วมกัน โดยเริ่มต้นหาแนวร่วม
สมัครใจที่จะมาเคลื่อนงานร่วมกัน
ทีมวิจัยได้ตั้งคำถามกับผู้ให้ข้อมูลว่า “อะไรที่ทำให้ อบจ.สงขลา สามารถสร้าง
เครือข่ายที่เข็มแข็งขนาดนี้ได้” ผู้ให้ข้อมูลได้เล่าว่า
“ในช่วงแรก เรามานั่งพูดคุยกันว่ามีหน่วยงานใดบ้างที่สามารถดำเนินการ
ร่วมกัน มีความพร้อมและสมัครใจที่จะเดินไปกับเรา นี่เองจึงมาเป็นจุดเริ่มต้น
ในการทำ MOU กับ 14 เครือข่าย เริ่มต้นจาก พม.ที่ถือเป็นหน่วยงานที่มีบทบาท
หลักเรื่องการดูแลผู้พิการ สสจ. วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ สมาคมคนพิการ มูลนิธิ
ชุมชนสงขลา และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นเทศบาล อบจ.ก็ไม่ได้ทำหน้าที่
ซ้ำซ้อนกับเทศบาล เราจึงเน้นไปที่การชวนกันมาทำงานแบบเสริมกันและกัน
มากกว่า เช่น เทศบาลนครหาดใหญ่ที่เข้ามาเป็นเหมือนลูกข่าย โดยเทศบาล
มีหน้าที่หลักในการไปรับรถเข็น หรืออุปกรณ์ที่ชำรุดนำมาส่งที่ศูนย์ฯ เพื่อทำ
32
การซ่อม คือ เราแบ่งบทบาทหน้าที่กันค่อนข้างชัดเจน”
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น บริหารส่วนจังหวัดสงขลามีกลเม็ดเคล็ดลับอะไรในการทำงานร่วมกันกับเครือข่ายมากมาย
เมื่อพูดถึงการเป็นเครือข่ายที่ทำงานร่วมกัน เชื่อว่าท่านผู้อ่านคงสงสัยว่า ทางองค์การ
เหล่านี้ สิ่งที่เป็นคำตอบ คือ การทำงานที่นอกเหนือจากการสื่อสาร การทำข้อตกลงร่วมมือกัน
ที่เป็นทางการแล้ว การทำให้ระบบอยู่ได้และแข็งแกร่งขึ้นอย่างต่อเนื่องคือ “การออกแบบ
การทำงานที่เป็นระบบและมีการติดตามงานอย่างต่อเนื่อง” เรียกง่าย ๆ คือ ไม่มีการ
ปล่อยผ่านเด็ดขาด
ดังในกรณีคณะกรรมการของศูนย์ซ่อมสร้างสุขชุมชน ที่ประกอบด้วยภาคีเครือข่าย
ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแต่ละศูนย์ฯ ที่เปิดให้บริการก็มีปัญหาที่หลากหลาย เพราะบริบทของแต่ละ
32 Personal communication, 10 มกราคม 2566.
2 สถาบันพระปกเกล้า