Page 59 - kpiebook66032
P. 59
ศูนย์ฯ จะแตกต่างกัน “การติดตามงานด้วยการสื่อสารพูดคุย” ได้ช่วยให้มีการนำปัญหา
มาเป็นตัวตั้ง แล้วร่วมกันคิดหาทางออก เมื่อปัญหาได้รับการแก้ไขด้วยการช่วยเหลือกันของ
เครือข่าย ก็ทำให้ทุกฝ่ายเห็นได้ว่าเขาสามารถก้าวข้ามปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ และเกิด
การเรียนรู้จากปัญหาเหล่านั้น
“เพราะระบบการทำงานถูกผลักถูกดันภาคีเครือข่าย ทำให้เรามีการประชุม
คณะกรรมการศูนย์ซ่อมสร้างสุขฯ 2 เดือนต่อครั้ง คณะกรรมการฯ ก็จะประกอบด้วย
ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เราประชุมบ่อยโดยเฉพาะการประชุมผ่านออนไลน์ ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
แต่หากมีปัญหาอะไรก็จะโทรคุยหารือกันทันที ก็จะทำให้เราสามารถแก้ปัญหา
ที่หน้างานได้” 33
ร่วมด้วยช่วยกันและบทบาทของแต่ละภาคีเครือข่าย
หากมองในงานพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการจังหวัดสงขลา จะเห็นได้ว่ากลไกใน
การขับเคลื่อนศูนย์ซ่อมสร้างสุขชุมชน มิได้ขึ้นกับบทบาทองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
เพียงอย่างเดียว แต่กลับมีถึง 14 เครือข่าย ที่มาร่วมกันทำงาน โดยบทบาทของเครือข่ายที่ได้
ให้การสนับสนุนในเรื่องต่าง ๆ ร่วมกัน สามารถสรุปได้ดังนี้
1) ด้านการประสานงานและบริหารจัดการศูนย์ซ่อมสร้างสุขชุมชน โดยองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดสงขลาและกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพจังหวัดสงขลา
2) ด้านงบประมาณ ในการจัดตั้งและขับเคลื่อนศูนย์ซ่อมสร้างสุขชุมชน เป็นการผนึก
กำลังระหว่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ
จังหวัดสงขลา และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 12 สงขลา นอกจากนี้ ยังมี
การบริจาคและสมทบมาจากภาคส่วนอื่นด้วย ไม่ว่าจะเป็นสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น
วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ บริษัทและห้างร้านต่าง ๆ สมาคมคนพิการ และธนาคารออมสิน
ภาค 18
3) ด้านการพัฒนาฐานข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ องค์การบริหาร
ส่วนจังหวัดสงขลา สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลา ท้องถิ่น
จังหวัดสงขลา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต
หาดใหญ่ และมูลนิธิชุมชนสงขลา
33 Personal communication, 10 มกราคม 2566.
สถาบันพระปกเกล้า