Page 52 - kpiebook66032
P. 52
“กองทุนฟื้นฟูฯ ตั้งมาแต่ปี 2557 แต่เริ่มขยับเมื่อปลายปี 2560 โดยมี
การมานั่งพูดคุยกันว่า ผู้พิการต้องการอะไร พอมานั่งคุยจึงได้แนวคิดว่า ในพื้นที่
เราน่าจะมีการเปิดศูนย์ซ่อมอุปกรณ์ของผู้พิการขึ้นสักแห่ง เพราะเวลาส่งคนไป
ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD) ปกติจะพากันไปซ่อมที่ร้านซ่อมรถหรือร้านซ่อมจักรยาน ซึ่งบางร้านเขาก็ซ่อมให้
อบรมที่ กทม. กลับมาก็เฉยไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรต่อ และถ้ามีศูนย์ซ่อมขึ้นจะเกิด
ประโยชน์กับผู้พิการอย่างมาก เพราะเวลากายอุปกรณ์หรือวีลแชร์ชำรุด
แต่บางร้านเขาก็ไม่ซ่อมให้”
25
ศูนย์ซ่อมสร้างสุขชุมชนตอบโจทย์อะไรบ้าง สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งและ
การขับเคลื่อนงานศูนย์ซ่อมสร้างสุขฯ ประกอบไปด้วย 1) เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการซ่อมบำรุง
ยืม-คืน กายอุปกรณ์ 2) เพื่อสร้างต้นแบบศูนย์บริการด้านการซ่อมบำรุงแบบบูรณาการ และ
3) เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาระบบบริการสาธารณะด้านกายอุปกรณ์
โดยเน้นการตอบโจทย์ให้กับกลุ่มเป้าหมายหลักที่มาใช้บริการซ่อมบำรุงกายอุปกรณ์
เครื่องช่วยความพิการ อันประกอบไปด้วย ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่อยู่ในระยะกึ่งเฉียบพลัน
และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดสงขลา
ส่วนที่ 3 จากจุดเริ่มเล็ก ๆ สู่การถักทอโครงข่ายเพื่อสร้างสุขร่วมกัน
ในขั้นตอนการดำเนินงานของศูนย์ซ่อมสร้างสุขชุมชน นั้น อาจกล่าวได้ว่า เป็นการเริ่ม
จากจุดเล็ก ๆ แค่หน่วยงานเดียว ที่เริ่มออกหาพันธมิตร เริ่มไปจับมือตัวแสดงอื่น และชักชวน
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น มาทำงานร่วมกันดังที่เห็น
1) ในฝั่งของผู้ก่อการดี : องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
การที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาได้ประกาศใช้ข้อบัญญัติ เรื่อง การส่งเสริม
และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ และการจัดตั้งกองทุนส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคน
พิการองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา พ.ศ.2559 และการประกาศใช้ข้อบัญญัติ เรื่อง ศูนย์
บริบาลผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา พ.ศ.2559 อีกทั้งได้มีการบรรจุแผนงานนี้ไว้
ในแผนพัฒนาท้องถิ่น 5 ปี ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ซึ่งจุดนี้อาจกล่าวได้ว่า
เป็นการจุดประกายการทำงานอย่างแท้จริง
25 Personal communication, 31 พฤษภาคม 2566.
สถาบันพระปกเกล้า