Page 51 - kpiebook66032
P. 51
ถึงแม้ระบบประกันสุขภาพในประเทศไทยจะระบุหลักการที่ครอบคลุมเรื่องความพิการ
และการฟื้นฟูสมรรถภาพแล้วก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติพบว่าผู้พิการ ร้อยละ 80 ไม่สามารถเข้าถึง
บริการและใช้ประโยชน์จากสิทธิที่ทางภาครัฐได้กำหนดไว้ได้ สิ่งที่เกิดขึ้นนอกจากกลุ่มผู้พิการ
23
(โดยเฉพาะกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกล) จะไม่สามารถเข้าถึงกายอุปกรณ์ต่าง ๆ แล้ว
ยังมีปัญหาอีกนานัปการ อาทิ เมื่อใช้ไปสักระยะกายอุปกรณ์เหล่านั้นก็เริ่มเสื่อมสภาพและชำรุด
ผู้พิการเหล่านั้นก็ไม่สามารถใช้งานต่อได้เพราะไม่มีศูนย์บริการซ่อมทั้งในพื้นที่จังหวัดสงขลา
และในพื้นที่ 14 จังหวัดทางภาคใต้ ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
ที่สำคัญคือ การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลบุคคลกลุ่มนี้ ไม่เพียงแต่ประสบปัญหา
ข้อจำกัดด้านงบประมาณและบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐในการให้บริการ หน่วยงาน
เหล่านั้นยังทำงานแบบแยกส่วน มิได้มาจับมือทำงานร่วมกัน การบริหารจัดการแก้ไขปัญหา
มีความซ้ำซ้อน การให้ความช่วยเหลือล่าช้าและขาดประสิทธิภาพ ส่งผลให้กลุ่มผู้พิการเหล่านั้น
“ถูกละเลย” ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมก็ยิ่งมีเพิ่มมากขึ้น 24
จากสภาพปัญหาดังกล่าว ใน พ.ศ. 2562 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาจึงเป็นผู้ริเริ่ม
แสวงหาหุ้นส่วนในการพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนพิการในจังหวัดสงขลา และมี
บทบาทเป็นศูนย์กลางในการประสานงานและบริหารจัดการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
จึงได้ลงนามความร่วมมือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม จำนวน
14 ภาคีเครือข่าย ในการร่วมกันดำเนินการพัฒนาระบบบริการสาธารณะด้านกายอุปกรณ์
เครื่องช่วยความพิการจังหวัดสงขลาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ปฐมบทของการดูแลผู้พิการกลุ่มนี้ ได้เกิดจากการที่ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติ (สปสช.) เปิดรับหน่วยงานที่สนใจในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้พิการ นายนิพนธ์
บุญญามณี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาในขณะนั้น จึงได้ร่วมมือกับ สปสช. จัดตั้ง
“กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพระดับจังหวัด” โดยกองทุนนี้ประกอบด้วยคณะกรรมการที่มาจาก ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น
ภาคส่วนต่าง ๆ โดยมีนายองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา เป็นประธาน เมื่อแต่ละภาคส่วน
ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายจากสาธารณสุข สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
สมาคมคนพิการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและภาคเอกชน ได้พูดคุยกันทำให้เห็นช่องโหว่และ
เห็นปัญหาสำคัญในเรื่องของกายอุปกรณ์ จึงกลายเป็นที่มาของการก่อตั้งศูนย์ซ่อมสร้างสุข
ชุมชนในที่สุด
23 สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลา, ข้อมูลผู้พิการ, (ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2561).
24 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา, เอกสารประกอบการสมัครรางวัลพระปกเกล้าทองคำประจำปี 2565,
(ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2564).
สถาบันพระปกเกล้า