Page 234 - kpiebook66032
P. 234
นอกจากท่านนายกฯ รองนายกฯ ที่ได้รับมอบหมาย ส่วนงานต่าง ๆ ในสำนักงานเทศบาล
เองก็ร่วมกันทำงานเป็นทีมเพื่อขับเคลื่อนโครงการนี้ไปพร้อมกัน ไม่ว่าจะเป็นกองการศึกษา
ซึ่งเป็นส่วนงานที่ทำงานอย่างใกล้ชิดกับทางโรงเรียนฯ และสำนักปลัดก็ช่วยประสานงานและ
ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD) รับนโนบายไปสู่การปฏิบัติ เทศบาลเรามีงบไม่เยอะ มีไม่ถึง 80 ล้านบาทสำหรับ
อำนวยความสะดวกให้โครงการดำเนินไปอย่างราบรื่น ซึ่งผู้ให้ข้อมูลได้กล่าวเอาไว้
“ฝ่ายข้าราชการประจำ ที่รับสนองนโยบายเป็นงานประจำอยู่แล้วที่เราต้อง
ทำทุกอย่าง แต่เราได้จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งมาส่งเสริมโรงเรียนและกลุ่ม
ยุวเกษตรกร เพื่อให้เด็ก ๆ ของเราได้มีทักษะในการประกอบอาชีพต่อไป เทศบาล
ให้การสนับสนุนงบประมาณและภาควิชาการ ไปค้นหาไปสืบเสาะความรู้จาก
ภาคส่วนต่าง ๆ มาให้ เพื่อให้โครงการฯ สามารถดำเนินการและต่อยอดไปได้
นาน ๆ” 237
“การดำเนินโครงการฯ มีการทำงานเป็นทีม ทั้งนายกฯ รองนายกฯ
กองการศึกษา และสำนักปลัดเทศบาลล้วนช่วยกันทำงาน แต่ละส่วนงานจะทำ
หน้าที่ของตนเพื่อนำนโยบายมาแปลงเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ เช่น กองการศึกษา
จะนำเรื่องนี้ไปทำแผนการของกองการศึกษา ส่วนทางโรงเรียนก็มีแผนงานของ
ตนเองเช่นกัน เราทำงานเป็นทีม” 238
ผู้มีบทบาทสำคัญที่ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายช่วยขับเคลื่อนโครงการก็คือ หน่วยงานภาครัฐ
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น สถานีพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12 (กรมพัฒนาที่ดิน) และสำนักงานประมงจังหวัด
ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองพัทลุง สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง
พัทลุง เป็นต้น โดยหน่วยงานภาครัฐเหล่านี้ช่วยสนับสนุนทั้งในแง่จัดหาพันธุ์ปลา หมู ไก่ และ
ผักสวนครัว การสนับสนุนด้านงบประมาณตามหลักเกณฑ์ รวมถึงการอบรมความรู้เกี่ยวกับ
การจัดการด้านการเกษตรอย่างยั่งยืน เช่น ความรู้ในการเลี้ยงปลา การเลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ไข่
การปลูกผัก การทำปุ๋ยอินทรีย์ และการกำจัดวัชพืชหรือแมลงแบบอินทรีย์ เป็นต้น ซึ่งการเข้ามา
ร่วมสนับสนุนในลักษณะนี้นอกจากจะทำให้โครงการของโรงเรียนฯ ประสบความสำเร็จแล้ว
หน่วยงานที่มาร่วมสนับสนุนก็ได้ผลงานตอบโจทย์ภารกิจของตนด้วย ถือเป็นความร่วมมือ
ที่ได้กันทุกฝ่าย (Win-Win Situation) ดังที่หลายท่านได้สะท้อนในเรื่องนี้ไว้ว่า
237 Personal communication, 18 เมษายน 2566.
238 Personal communication, 20 มีนาคม 2566.
22 สถาบันพระปกเกล้า