Page 235 - kpiebook66032
P. 235

“แต่ก่อนมีครู ชุมชน และกรมพัฒนาชุมชน ตอนนี้มีเกษตรอำเภอที่เข้ามาดู

                     ทุกเดือน เกษตรจังหวัด และหน่วยงานอื่น ๆ จากภายนอกก็เข้ามาช่วย เช่น
                     มอบพันธุ์ผัก เห็ด และปลา เวลามีปัญหาหน่วยงานต่าง ๆ ก็เข้ามาทุกเดือน ถือว่า

                     เรามีพี่เลี้ยงเก่ง ทำให้ผลผลิตของกลุ่มเยอะขึ้น”  239

                           “ปกติ เริ่มต้นกรมส่งเสริมมีการตั้งกลุ่มยุวเกษตรกรอยู่แล้ว เราก็มาเสริม

                     เล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น มีงานมีเรื่องอะไรใหม่ ๆ เราก็มาเสริมตรงนั้น ทางสำนักงาน
                     เกษตรอำเภอ ถ้าเรามีงบเราก็จะมาสนับสนุน อย่างมีปีนี้ เรามีเรื่องมาตรฐาน          ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
                     เกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ เราก็เอามาสอนเด็ก ๆ”  240


                           “ในอนาคตต่อไป เราอยากมาทุกเดือน ครั้งละ 1-2 ชั่วโมง เราอยาก
                     บูรณาการกัน เพราะพอเขาได้รางวัล ทางสำนักงานเกษตรอำเภอฯ เราก็ได้ผลงาน

                     เหมือนกัน ต่างคนต่างได้ เป็น Win-Win”  241

                           “การทำโครงการฯ จะมีทีมพัฒนาระดับตำบล จะมีปลัดอำเภอ พัฒนากรตำบล
                     เกษตรตำบลฯ ปลัดเทศบาลจะเป็นเลขาฯ ของทีม ก็จะนำเรื่องนี้มาทำมาคุย

                     ตรงนั้นถือเป็นกลไกในการนำความร่วมมือเข้ามาได้ด้วย และในส่วนของเรา
                     มีการนำงบฟังชั่นมาใช้ในส่วนนี้ได้ด้วย การทำงานร่วมกับภาคีมีลักษณะ

                     ประสานกันในลักษณะบูรณาการ”    242


                     สำหรับประชาชนในพื้นที่เองก็ถือว่าเป็นอีกแรงหนึ่งที่เข้ามาช่วยเติมเต็มให้โครงการ

               มีความสมบูรณ์ โดยประชาชนในพื้นเข้ามาสนับสนุนในฐานะวิทยากรที่นำประสบการณ์และ
               ความรู้จากที่สิ่งที่ตนได้ทำจริงมาเล่ามาสอนเด็ก ๆ และยังเปิดโอกาสให้ใช้สวนหรือแปลงเกษตร

               ของตนเองเป็นแหล่งเรียนรู้จริงแก่กลุ่มยุวเกษตรกรอีกด้วย จึงถือได้ว่า ประชาชนในพื้นที่
               ทำหน้าที่เป็นทั้งที่ปรึกษาให้แก่กลุ่มยุวเกษตรและเป็นแรงบันดาลใจให้แก่เด็ก ๆ ในการทำ     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่น
               การเกษตรอีกด้วย ซึ่งบางคนก็มาช่วยเป็นวิทยากรประจำฐานต่าง ๆ เช่น คุณวราภรณ์ เกื้อคลัง

               เป็นวิทยากรให้ความรู้ด้านการเลี้ยงหมู คุณพงศ์พันธ์ เตชะนราวงศ์ เป็นวิทยากรให้ความรู้
               การทำปุ๋ยหมัก คุณศิริพร เอียดนุ้ย เป็นวิทยากรให้ความรู้การทำเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าเพื่อ

               ป้องกันโรครากเน่า คุณอำนาจ สวนบ่อแร่ เป็นวิทยากรให้ความรู้การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน

                  239   Personal communication, 20 มีนาคม 2566.

                  240   Personal communication, 18 เมษายน 2566.
                  241   Personal communication, 18 เมษายน 2566.
                  242   Personal communication, 18 เมษายน 2566.




                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   22
   230   231   232   233   234   235   236   237   238   239   240