Page 238 - kpiebook66032
P. 238

นอกจากนี้ สถาบันทางศาสนา คือ วัด ก็ยังได้เข้ามาร่วมในการสนับสนุนโครงการด้วย

           เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัดทุ่งลาน ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ที่มีพื้นที่ติดกับโรงเรียนบ้านทุ่งลาน
           เป็นวัดที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2506 จึงเป็นแหล่งรวมจิตใจของคนในชุมชนมาอย่างยาวนาน
     ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)   ยังมีพระปลัดสมพล ถาวโร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดทุ่งลานหรือที่เด็ก ๆ เรียกกันอย่างคุ้นเคยว่า
           ปัจจุบันมีพระครูสุมนศาสนาทรเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งลานแห่งนี้ โดยวัดได้ช่วยสนับสนุนวัสดุและ
           อุปกรณ์ทำการเกษตรให้กับกลุ่มยุวเกษตรกร เช่น มีดพร้า จอบ เสียม เป็นต้น และวัดแห่งนี้



           “หลวงพล” ท่านมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับงานช่าง ท่านจึงคอยสอนเด็ก ๆ ในเรื่องการใช้
           เครื่องมือและสอนประดิษฐ์สิ่งของจากไม้ เช่น การทำชั้นวางของต่าง ๆ จากเศษวัสดุเหลือใช้

           ซึ่งเมื่อทำเสร็จแล้วก็จะมอบให้ทางวัดได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ซึ่งครูและนักเรียนได้เล่า
           เรื่องราวที่น่ารักนี้ให้ฟังว่า


                       “พระที่วัดมีฝีมืองานช่าง ท่านก็จะสอนทำเครื่องมือเครื่องใช้ให้เด็ก ๆ คือ
                 ท่านช่วยเป็นวิทยากรด้านการสร้างเครื่องใช้ต่าง ๆ ด้วย และถ้าพอเราขาด

                 อุปกรณ์อะไร ก็ไปยืมที่วัดได้ พวกมีดพร้าจอบ เป็นแหล่งหยิบยืมอุปกรณ์ต่าง ๆ”  246

                       “มีพระมาสอน พวกเราเรียกว่า หลวงพล อยู่ที่วัดทุ่งลาน ท่านให้เรายืมใช้
                 จอบ เราเดินไปเอาจอบ และมีรถเข็น จอบ 10 เล่มที่เรายืมกันมาและเราก็เอาผัก
                 ไปแลก”   247   เด็ก ๆ กล่าวด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะที่สะท้อนถึงความสุข

                 ที่เกิดจากการทำงานร่วมกับผู้คนในชุมชน



           ภาพที่ 29-30: กิจกรรมที่เด็กนักเรียนทำร่วมกับชุมชน
     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่น















           ที่มา: เทศบาลตำบลตำนาน, เอกสารโครงการยุวเกษตรกรโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร, (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.,
               2566).



              246   Personal communication, 20 มีนาคม 2566.
              247   ตัวแทนยุวเกษตรกรโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร, สัมภาษณ์โดยทีมวิจัย, 20 มีนาคม 2566.



        2 2    สถาบันพระปกเกล้า
   233   234   235   236   237   238   239   240   241   242   243