Page 242 - kpiebook66032
P. 242

ส่วนที่ 4 วันที่ต้นไม้แห่งความยั่งยืนได้ผลิดอกออกผล:

           ความสำเร็จของโครงการยุวกเกษตรกร


                 จากวิสัยทัศน์และพันธกิจที่มุ่งมั่นในการส่งเสริมวิถีเกษตรพอเพียงยั่งยืนในพื้นที่
     ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)   เติมทักษะการประกอบอาชีพด้านการเกษตรที่ถือเป็นมรดกภูมิปัญญาท้องถิ่นของตำบลตำนาน
           กอปรกับความมุ่งมั่นของผู้บริหาร บุคลากรเทศบาลและคณะครูที่ต้องการให้ความรู้และ



           ให้กับลูกหลาน รวมไปถึงการสนับสนุนอย่างแข็งขันและต่อเนื่องจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย
           ต่าง ๆ จึงกล่าวได้ว่า ในวันนี้ ได้เกิดผลสำเร็จที่งดงามดังที่ทุกฝ่ายได้ประจักษ์แล้วว่า ความรู้

           และทักษะด้านการเกษตรอินทรีย์นั้นเกิดขึ้นแล้วกับเด็ก ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ เด็กเหล่านี้
           สามารถอธิบายได้อย่างชัดถ้อยชัดคำเกี่ยวกับความรู้เชิงเทคนิคของการเกษตรอินทรีย์และ

           สามารถปฏิบัติได้จริงทุกขั้นตอนใน 9 ฐานการเรียนรู้ แสดงให้เห็นว่าความรู้และทักษะ
           ที่วิทยากรและครูได้ร่วมกันอบรมสั่งสอนให้นั้นได้ฝังลึกอยู่ในความคิดและความรู้สึกของ
           เด็ก ๆ แล้ว มาถึงวันนี้ จึงเปรียบเสมือนวันต้นไม้แห่งความยั่งยืนได้ผลิดอกออกผลแล้วนั่นเอง

           ซึ่งหากจะถามว่า ความสำเร็จที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง คำตอบอาจมีหลายมุมมอง

                 มุมมองในเชิงปริมาณ ความสำเร็จประการแรก คือ นักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลาน

           สถิตธรรมาทร จำนวน 189 คน เกิดการเรียนรู้วิธีการทำเกษตรอินทรีย์แบบปฏิบัติได้จริง
           ซึ่งทางโรงเรียนจะฝึกให้เด็กดำเนินการเองทั้งหมด ทั้งทำการเกษตรเอง และสอนน้อง ๆ
           ด้วยตนเอง ทำเองทั้งหมด ครูเป็นเพียงคนที่คอยให้คำปรึกษาเท่านั้น เด็กที่ดำเนินงานเป็นหลัก

           จะเป็น ป.4 ขึ้นไป ส่วนเด็ก ป.1-3 จะเป็นผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประการที่สอง คือ ครูและ
           บุคลากรโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร จำนวน 20 คน ได้มีโอกาสทำงานร่วมกัน
     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่น   เกิดการลดภาระค่าใช้จ่ายในครอบครัวของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร
           เกิดความรัก ความสามัคคี เพิ่มความรู้สึกของการเป็นทีมเดียวกันมากยิ่งขึ้น ประการต่อมา คือ


           จำนวน 378 คน กล่าวคือ เมื่อเด็กนำความรู้ที่มีกลับไปปฏิบัติต่อที่บ้านคือไปปลูกพืชผักสวน

           ครัวที่บ้าน ก็สามารถนำผักสวนครัวที่ได้ไปประกอบอาหารกินในครอบครัวเป็นการช่วยลดค่าใช้
           จ่ายในครัวเรือนได้อีกทางหนึ่งด้วย ความสำเร็จเชิงปริมาณอีกประการคือเรื่องของรายได้

           กล่าวคือ ผลผลิตที่ได้จากกิจกรรมของโครงการฯ นอกจากจะใช้สำหรับบริโภคในโรงเรียน
           เป็นอาหารกลางวันแล้ว เมื่อเหลือจากตรงนั้นจะนำไปจำหน่าย ทำให้เกิดรายได้ที่เข้ามายัง
           กลุ่มยุวเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ทำให้กลุ่มมีเงินทุนหมุนเวียนสำหรับบริหารจัดการกิจกรรมของ

           โครงการอย่างต่อเนื่อง และมีเงินออมเล็ก ๆ น้อย ๆ ช่วยให้สามารถเลี้ยงตนเองภายในกลุ่มได้
           โดยสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรมีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของแต่ละฐาน เพื่อจะได้ทราบ

           สถานะทางการเงินของกลุ่มว่าได้กำไรหรือขาดทุน และได้ใช้เป็นข้อมูลในการวางแผน
           พัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มยุวเกษตรกรแต่ละกลุ่มต่อไป


        2      สถาบันพระปกเกล้า
   237   238   239   240   241   242   243   244   245   246   247