Page 245 - kpiebook66032
P. 245
กิจกรรมของกลุ่มยุวเกษตร ผ่านการประชุมกลุ่มยุวเกษตรกรและเลือกตั้งคณะกรรมการสภาฯ
ซึ่งทางกลุ่มยุวเกษตรจะมีการประชุมเดือนละครั้ง ทำให้เด็ก ๆ ได้รู้จักการทำงานเป็นระบบ
การทำงานเป็นทีม เรียนรู้การทำงานแบบกระบวนที่ถูกต้องและการการควบคุมงานให้เป็นไป
ตามแผนการที่วางไว้ ผลดีประการต่อมา คือ เกิดเครือข่ายความร่วมมือในพื้นที่จากการที่
หน่วยงานภาครัฐและประชาชนในชุมชนต่าง ๆ เข้ามาร่วมเป็นวิทยากรอบรมและแลกเปลี่ยน
เรียนรู้กับสมาชิกยุวเกษตรกรในฐานต่าง ๆ ซึ่งตรงนี้ยังสามารถต่อยอดขยายไปสู่การร่วมกัน
ทำประโยชน์ทำสิ่งดีอื่น ๆ ให้กับสาธารณะได้อีกด้วย ซึ่งทางสมาชิกยุวเกษตรกรของโรงเรียน
ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชนอย่างสม่ำเสมอ เช่น กิจกรรมจิตอาสาทำความสะอาดวัดในวัน ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
สำคัญต่าง ๆ กิจกรรมปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติ ปลูกต้นไม้ข้างทาง กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์
กิจกรรมเก็บขยะข้างทาง ฯลฯ โดยกิจกรรมสาธารณประโยชน์เหล่านี้ ล้วนเป็นประโยชน์
แก่พื้นที่ทั้งในแง่การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเป็นสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นได้อีก
ทางหนึ่งด้วย
ภาพที่ 36-38: เด็ก ๆ มีความสุขกับกิจกรรมที่ทำในฐานต่าง ๆ
ที่มา: เทศบาลตำบลตำนาน, เอกสารโครงการยุวเกษตรกรโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร, (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.,
2566). ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น
ผลดีอีกอย่างหนึ่งจากการดำเนินโครงการ คือ เกิดการถ่ายทอดความรู้ผ่านช่องทาง
ออนไลน์ โดยทางกลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทรได้จัดทำ
สื่อความรู้ในรูปแบบของคิวอาร์โค้ด เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเข้าถึงความรู้ในเรื่องต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น การขยายพันธุ์ไม้ การทำปุ๋ยหมัก และการเลี้ยงสัตว์ รวมไปถึง
ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มยุวเกษตรกรโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร ซึ่งนอกจากจะทำให้
สมาชิกฯ เกิดทักษะในการทำสื่อความรู้ใหม่ ๆ แล้ว ยังเป็นการเผยแพร่ความรู้ไปสู่ประชาชน
ผู้สนใจโดยทั่วไปด้วย นอกจากนี้แล้ว ผลกระทบที่สำคัญจากการดำเนินโครงการก็คือ การเกิด
จิตสำนึกรักและความต้องการในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่
สถาบันพระปกเกล้า 2