Page 239 - kpiebook66032
P. 239

จะเห็นได้ว่า ในการขับเคลื่อนโครงการนี้ให้สำเร็จ ทุกคนต่างก็ช่วยกันคนละไม้คนละมือ

               เติมเต็มสิ่งที่ทางโรงเรียนและทางเทศบาลขาดหรือมีไม่พอ แสดงให้เห็นว่า การทำงานแบบ
               เครือข่าย การช่วยเหลือสนับสนุนจากเครือข่ายนั้นสำคัญมากแค่ไหน ในการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์

               เยาวชนตัวน้อย ๆ และบำรุงให้พวกเขาเติบโตมาเป็นกลุ่มยุวเกษตรกรผู้มีความรู้ ทักษะ และมี
               ใจรักในงานเกษตรยั่งยืน เป็นอนาคตที่สำคัญของเทศบาลตำบลตำนานต่อไป


                           “แม้ว่าเทศบาลมีการสนับสนุนงบประมาณและด้านวิชาการแก่กลุ่ม

                     ยุวเกษตรกร แต่ด้วยงบประมาณที่มีไม่มาก การที่จะทำให้เกิดความต่อเนื่อง            ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
                     ในการดำเนินงานของกลุ่มนั้น จำเป็นต้องพยายามค้นหาการสนับสนุนทรัพยากร

                     จากภาคีเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อให้โครงการฯ สามารถไปต่อได้”  248

                           “ทางเทศบาลเรามีงบประมาณน้อย เราก็อาศัยภาคส่วนต่าง ๆ เช่น
                     สำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานประมง อำเภอ
                     เช่น เราได้ขอรับพันธุ์ปลามาปล่อยที่โรงเรียน หรือไปค้นหาไปสืบเสาะความรู้จาก

                     ภาคส่วนต่าง ๆ มาให้กับทางโรงเรียน เพื่อให้โครงการฯ สามารถดำเนินการและ
                     ต่อยอดไปได้นาน ๆ” 249




                     เพื่อขับเคลื่อนโครงการให้เกิดผลสำเร็จ ทางเทศบาลตำบลตำนานได้ระดมทรัพยากร
               ต่าง ๆ อย่างเต็มที่ทั้งทรัพยากรบุคคล งบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์ โดยในการดำเนินกิจกรรม
               ตามฐานต่าง ๆ ของโครงการที่เกิดขึ้นในโรงเรียนนั้นต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของบุคลากร

               ทั้งหมดในโรงเรียน ทั้งครู เจ้าหน้าที่สำนักงาน และนักการภารโรง รวมประมาณ 20 กว่าคน
               โดยในแต่ละฐานการเรียนรู้จำเป็นต้องมีครูอยู่ประจำฐาน ฐานการเรียนรู้ละ 2 คน นอกจากนี้

               ยังได้รับการอนุเคราะห์ด้านบุคลากรจากเครือข่ายเพื่อมาช่วยเป็นวิทยากรให้ความรู้ทางด้าน
               การเกษตรที่จากหน่วยงานภาครัฐ 4 หน่วยงานหลักและจากกลุ่มประชาชนในพื้นที่อีก 12 คน        ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่น

                     ส่วนงบประมาณที่นำมาใช้ในการดำเนินงานของโครงการนั้น เป็นงบประมาณที่ใช้จ่าย

               ผ่านโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ 2565 (ตุลาคม 2564-กันยายน 2565)
               ซึ่งมีการเบิกจ่ายผ่านหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ เบิกจ่ายจากเงินรายได้สถานศึกษา เงินจัด
               การเรียนการสอนคิดเป็นรายหัว 25,000 บาท เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับเมล็ดพันธุ์ ก้อนเชื้อเห็ด

               สารกำจัดศัตรูพืช ปุ๋ย อาหารสัตว์ และอุปกรณ์สำหรับการทำเกษตร เบิกจ่ายจากงบประมาณ


                  248   Personal communication, 18 เมษายน 2566.

                  249   Personal communication, 18 เมษายน 2566.




                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   2
   234   235   236   237   238   239   240   241   242   243   244