Page 229 - kpiebook66032
P. 229
ฐานการเรียนรู้ที่ 4 กิจกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ กลุ่มยุวเกษตรกรได้รับพันธุ์ไก่ไข่จาก
สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองพัทลุง และบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง โดยได้มีการใช้เทคนิคการเลี้ยง
ไก่แบบ “ไก่ไข่อารมณ์ดี” ซึ่งเป็นการเลี้ยงไก่ไข่แบบกึ่งปล่อยกึ่งปิด หัวใจสำคัญคือการมีพื้นที่ให้
ไก่ได้เดินเหินอย่างอิสระ ได้คุ้ยเขี่ยหาอาหารเอง เป็นการช่วยลดความเครียด ผลที่ได้คือผลผลิต
ไข่เพิ่มขึ้น ไข่ไก่ที่ได้มีการนำมาประกอบเป็นอาหารกลางวันให้นักเรียนในโรงเรียนและจำหน่าย
ตามช่องทางต่าง ๆ โดยการทำกิจกรรมในฐานนี้ได้มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบออก
เป็นการให้อาหารไก่ เปลี่ยนน้ำ เก็บไข่ จำหน่ายไข่ไก่ และจัดทำบันทึกในสมุดรายรับ-รายจ่าย
ปัจจุบันมีไก่ไข่จำนวน 30 ตัว เก็บไข่วันละ 15 ฟอง ซึ่งได้นำไปขายตามราคาท้องตลาด ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
ภาพที่ 13-14: ฐานการเรียนรู้ที่ 4 กิจกรรมการเลี้ยงไก่ไข่
ที่มา: เทศบาลตำบลตำนาน, เอกสารโครงการยุวเกษตรกรโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร, (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.,
2566).
ฐานการเรียนรู้ที่ 5 กิจกรรมการเลี้ยงหมูหลุม กลุ่มยุวเกษตรกรได้มีการเลี้ยงหมูหลุม ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น
ซึ่งเป็นแนวคิดการทำเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและไม่ทำลายระบบนิเวศน์ และสามารถ
ลดต้นทุนในการเลี้ยงได้เนื่องจากทั้งวัสดุสำหรับปูพื้นหลุมและอาหารที่เลี้ยงจะใช้วัตถุดิบที่ได้
จากท้องถิ่น เป็นการเลี้ยงแบบกึ่งอินทรีย์ โดยการปูพื้นหลุมจะใช้แกลบและถ่านซึ่งหาได้ทั่วไป
ในชุมชน แล้วรดด้วยน้ำหมักเพื่อดับกลิ่น ส่วนอาหารสำหรับเลี้ยงหมูก็ให้ผักและผลไม้ใน
ท้องถิ่น ซึ่งวิธีการดังกล่าวช่วยลดกลิ่นเหม็นได้และยังได้ปุ๋ยอินทรีย์สามารถนำไปประโยชน์
ในการปลูกผัก ไม้ดอกไม้ประดับและไม้ผลต่อได้อีก กิจกรรมการเลี้ยงหมูหลุมแบบอินทรีย์นี้ได้
สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองพัทลุงเข้ามาช่วยเหลือดูแลและให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิดและ
สม่ำเสมอโดยเฉพาะในเรื่องการสร้างเล้าหมูหลุมอย่างถูกวิธี รวมทั้งยังได้ช่วยจัดหาพันธุ์หมู
ให้กับทางกลุ่มอีกด้วย
สถาบันพระปกเกล้า 22