Page 217 - kpiebook66032
P. 217

ยุวเกษตรกรตัวน้อย


               เทศบาลตำบลตำนาน อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง




                                                          สมพร คุณวิชิต, ชนิษฎา ชูสุข และ
                                                                        จิตราวดี ฐิตินันทกร  231

                                                                                                     ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)

               เกริ่นนำ


                     การพัฒนาของโลกและของไทยในปัจจุบันต่างก็มุ่งไปสู่ทิศทางที่คล้ายคลึงกันคือได้รับ

               อิทธิพลจากฐานคิดแบบทุนนิยมที่เน้นการบริโภคเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้คนอย่าง
               ไม่มีขีดจำกัด นำมาสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเข้มข้น และให้ความสำคัญต่อเรื่องของตัวเลข
               ทางการเงินหรือการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันจะเห็นว่าการพัฒนาในลักษณะ

               ดังกล่าวได้นำมาสู่ผลเสียมากมาย ทั้งในแง่ความเสื่อมโทรมต่อสิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ
               ความเสื่อมโทรมของเมือง และความเหลื่อมล้ำทางสังคม เป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ซึ่งปัจจุบัน

               เด็กทั่วโลกก็กำลังตกอยู่ภายใต้เงามืดของการพัฒนาในลักษณะนี้ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยของ
               เราเอง แม้กระทั่งในพื้นที่ต่างจังหวัด อย่างกรณีเทศบาลตำบลตำนาน อำเภอเมือง จังหวัด
               พัทลุง ปฏิเสธไม่ได้ว่า เด็กและเยาวชนในพื้นที่เกิดมาในยุคสมัยใหม่ที่มีสังคมและรูปแบบ

               วิถีชีวิตแตกต่างจากคนรุ่นเก่า วิถีชีวิตดังกล่าว คือ วิถีแห่งเกษตรและการอยู่ร่วมกันกับ
               ทรัพยากรธรรมชาติ สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ตำบลตำนานที่อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ

               เป็นวิถีชีวิตที่ส่งเสริมเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ฉะนั้น เพื่อรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมของคนตำนาน
               ที่มีมาอย่างยาวนานและเป็นการเสริมสร้างทักษะด้านการเกษตรและสร้างหัวใจที่รัก
               ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลตำนานโดยโรงเรียนเทศบาล                      ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่น

               บ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร จึงได้มีโครงการยุวเกษตรขึ้น นำไปสู่การสร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่
               ที่ใจรักธรรมชาติ สืบสานภูมิปัญญาและรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมของบรรพบุรุษไว้ รวมทั้งได้ทักษะ

               ด้านการเกษตรแบบอินทรีย์ที่สามารถนำไปเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพในอนาคตได้
               จากความสำเร็จที่เกิดขึ้น ทำให้ทางเทศบาลได้รับรางวัลพระปกเกล้าทองคำในปี 2565




                  231   1.  รศ. ดร.สมพร คุณวิชิต อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
                      2.  ผศ. ดร.ชนิษฎา ชูสุข อาจารย์ประจำคณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
                      3.  นางสาวจิตราวดี ฐิตินันทกร คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์




                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   211
   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222