Page 219 - kpiebook66032
P. 219
เทศบาลตำบลตำนานมีประชากรทั้งสิ้น 8,368 คน เป็นชาย 3,948 คน และหญิง
4,432 คน มีครัวเรือน ทั้งหมด 3,433 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2566) 232
โดยประชากรส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยรุ่นถึงวัยทำงาน คือมีอายุระหว่าง 18-60 ปี (5,076 คน)
รองลงมาคือผู้สูงวัย คือผู้มีอายุตั้งแต่ 61 ปีขึ้นไป (1,779 คน) และตามด้วยกลุ่มวัยเด็กและ
เยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี (1,525 คน) คนตำนานทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์นับถือศาสนาพุทธ
มีวัดสำคัญ คือ วัดโพธิ์ตำนาน วัดประจิมทิศาราม (วัดเจ็นตก) วัดตำนาน (โตระ) วัดทุ่งลาน
และวัดจินตาวาส (วัดเจ็นออก) ซึ่งนอกจากจะเป็นสถานที่สำหรับประกอบพิธีกรรมที่สำคัญ
ทางศาสนา เป็นที่พบปะรวมใจของผู้คนในพื้นที่นี้แล้ว วัดยังได้เข้ามาเป็นองค์กรเครือข่ายที่ช่วย ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
สนับสนุนการดำเนินโครงการยุวเกษตรกรของโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทร
อีกด้วย ตำบลตำนานมีประเพณีสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์และจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี คือ ประเพณี
ชักพระ ซึ่งจัดประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี มีภูมิปัญญาท้องถิ่นสำคัญที่ชาวบ้านได้ช่วยกัน
อนุรักษ์ไว้ คือ น้ำมันเอ็นเพื่อรักษาอาการกระดูกหักหรือต่อกระดูก สินค้าพื้นเมืองและ
ของที่ระลึกที่โดดเด่น คือ ขนมข้าวแต๋นน้ำแตงโมกับผลิตภัณฑ์ข้าวสังข์หยด
ด้วยสภาพภูมิประเทศและลักษณะภูมิอากาศดังที่กล่าวข้างต้น ทำให้พื้นที่ตำบลตำนาน
มีความเหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก ฉะนั้น จึงไม่แปลกเลยที่ประชากรส่วนใหญ่จะประกอบ
อาชีพด้านเกษตรกรรม ไม่ว่าจะเป็นการทำนาปลูกข้าว รองลงมาคือทำสวนยางพารา
สวนปาล์มน้ำมัน สวนไม้ผล ปลูกพืชไร่ และพืชผัก นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงสัตว์ซึ่งมีทั้งวัว สุกร
ไก่ไข่ และเลี้ยงปลา โดยทางเทศบาลได้มีการส่งเสริมให้มีการนำวิธีการเกษตรทฤษฎีใหม่
ตามแนวพระราชดำริมาปรับใช้ด้วย ประชาชนมีการรวมกลุ่มอาชีพหลัก ๆ จำนวน 2 กลุ่ม คือ
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านศาลาพระนาย หมู่ที่ 4 และวิสาหกิจกลุ่มผลิตข้าวซ้อมมือ
ข้าวสังข์หยด หมู่ที่ 13 ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น
232 กรมการปกครอง, สำนักบริหารการทะเบียน, ข้อมูลสถิติประชากร, สืบค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2566,
https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage.
สถาบันพระปกเกล้า 21