Page 216 - kpiebook66032
P. 216

หรือเป็นวัฒนธรรมที่การสื่อสารขององค์กรมีความเข้าใจเท่ากันถึงจุดประสงค์งานอย่างลึกซึ่ง

           ทั่วทั้งองค์กรใช้เวลานานเป็น 10 ปี และการมีทีมคนทำงานที่อยู่ในเมืองแม่เหียะนานหรือ
           เป็นคนท้องที่เองก็จะทำให้วัฒนธรรมองค์กรและวิธีการทำงานมีความเข้มแข็งด้วยประสบการณ์
     ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)   แม่เหียะ มีประสบการณ์การปกครองมากกว่า 23 ปี ขณะเดียวกันก็เป็นผู้ศึกษาหาความรู้
           และความเข้าใจพื้นที่

                   5)  การมีภาวะผู้นำ (Leadership) : นายธนวัฒน์ ยอดใจ นายกเทศมนตรีเมือง



           อยู่ตลอด ทั้งในด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ ทำให้มีวิสัยทัศน์ในการกำหนด
           ทิศทางเมืองที่ชัดเจน การเปลี่ยนแปลงเมืองแม่เหียะโดดเด่นที่ผ่านมา ได้แก่ เรื่องการปรับปรุง

           เมืองแม่เหียะให้เป็นเมืองอัจฉริยะ การจัดทำฐานข้อมูลเมือง การพัฒนาการศึกษา ดูแล
           ความปลอดภัย และผลักดันการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งเป็นแหล่งพัฒนาเศรษฐกิจให้กับ

           พื้นที่ โดยนายกเทศมนตรี มีความเห็นว่า “การสร้างความเชื่อมั่นของคนในพื้นที่ เป็นเรื่อง
           ที่สำคัญที่สุด”


                 เทศบาลเมืองแม่เหียะก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่แสดง
           ให้เห็นว่า ตลอดระยะเวลาสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การกระจาย
           อำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความจำเป็นอย่างมากในประเทศไทย เนื่องจากมีผล

           ที่สำคัญต่อการบรรเทาปัญหาและพัฒนาในระดับท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะ
           ที่เป็นองค์กรซึ่งใกล้ชิดประชาชน ในสถานการณ์ฉุกเฉินสามารถดำเนินงานในระดับท้องถิ่น

           อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้เร็วและดีกว่า
           รัฐบาลส่วนกลาง ที่อยู่ห่างออกไปจากสถานการณ์และปัญหาในแต่ละพื้นที่ ปัญหา
     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่น   ไม่สามารถประกาศได้เอง ซึ่งมีผลต่อการปฏิบัติการเชิงรุกของท้องถิ่น และการขาดอำนาจ
           เชิงโครงสร้างที่เห็นในเหตุการณ์นี้ ได้แก่ อำนาจในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่ท้องถิ่น


           ในการคัดสรรและบริหารบุคลากร ซึ่งต้องผ่านการบริหารงานของรัฐบาลและราชการส่วนกลาง

           ทำให้มีผลต่อการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาพรวม ดังนั้น การกระจายอำนาจ
           ในการบริหารจัดการให้กับท้องถิ่น เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้ท้องถิ่นสามารถบริหารจัดการ
           รายละเอียดในท้องที่ตนเองได้อย่างแม่นยำ เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีการรับผิดชอบ

           ต่อประชาชนในพื้นที่ซึ่งมีอำนาจในการเลือกผู้นำมาบริหารงานท้องถิ่นของตนอีกด้วย












        210    สถาบันพระปกเกล้า
   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221