Page 223 - kpiebook66032
P. 223
ยุทธศาสตร์เหล่านี้จะไม่แปลกใจเลยว่า เพราะเหตุใดทางเทศบาลตำบลตำนานจึงสนับสนุน
ให้โรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทรดำเนินโครงการยุวเกษตรกร เนื่องจากเป็น
โครงการที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาหลายแนวทางของเทศบาล ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริม
และสนับสนุนงานด้านเศรษฐกิจพอเพียง การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต การสร้าง
สมดุลของการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การคุ้มครองและใช้ประโยชน์
ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน การอนุรักษ์พัฒนาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
ดินและป่าไม้ตามพระราชดำริ และการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นต้น ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
ส่วนที่ 2 จุดเริ่มต้นของการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ยุวเกษตรกรตัวน้อย
สิ่งที่จุดประกายให้ทางเทศบาลตำบลตำนานและโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิต
ธรรมาทรจัดทำโครงการยุวเกษตรกรนั้น มีที่มาจากการเล็งเห็นว่า ในพื้นที่เทศบาลตำบล
ตำนานนี้ คนในชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่
มีอาชีพทำไร่ ทำนา ทำสวน และปลูกผัก ซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่ดีงามสืบสานกันมาแต่ยาวนาน เป็นวิถี
แห่งความพอเพียงและยั่งยืน แต่สิ่งที่ทางเทศบาลมองว่าเป็นความกังวลในปัจจุบันและ
อาจกลายเป็นปัญหาในอนาคต คือการที่เยาวชนในพื้นที่ปัจจุบันมีแนวโน้มไม่ค่อยสนใจที่จะ
ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีทัศนคติที่ไม่ค่อยดีนักกับอาชีพนี้เนื่องจากมองว่า การประกอบ
อาชีพเกษตรกรรมต้องทำงานหนัก แต่รายได้น้อยไม่คุ้มค่าในการลงทุน ซึ่งก็คล้าย ๆ กับ
เด็กรุ่นใหม่โดยทั่วในสังคมไทยปัจจุบัน อาจทำให้วิถีชีวิตอันดีงามนี้จะสูญหายไปพร้อมกับ
ภูมิปัญญาดั้งเดิมและทักษะการประกอบอาชีพเกษตรกรรมซึ่งถือเป็นมรดกที่ล้ำค่าของ
คนในชุมชนหรือแม้แต่คนไทยในภาพรวม ทางเทศบาลจึงคิดหาแนวทางที่จะอนุรักษ์วิถีเกษตร
พอเพียงยั่งยืน การให้ความรู้ และพัฒนาทักษะด้านการเกษตรอินทรีย์ ให้นักเรียนได้นำไปใช้
เป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพในอนาคตได้ โดยได้หารือกับคณะครูโรงเรียนเทศบาล ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น
บ้านทุ่งลานสถิตธรรมาทรซึ่งเป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ใจกลางชุมชน จนเห็นพ้องต้องกันว่าแนวทาง
หนึ่งที่จะช่วยทำให้ความฝันนั้นบรรลุได้ คือ การจัดตั้งกลุ่มยุวเกษตรกรขึ้นภายในโรงเรียน
ซึ่งคำว่า ยุวเกษตรกร หมายถึง เด็กและเยาวชน อายุ 10 - 25 ปีที่สนใจการเกษตร มีการ
รวมตัวกันในระดับหมู่บ้านขอจัดตั้งเป็นกลุ่มยุวเกษตรกรต่อสำนักงานเกษตรอำเภอและจังหวัด
เพื่อรับบริการความรู้วิชาการเกษตรและเคหกิจเกษตรจากโครงการส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่
ส่วนใหญ่เป็นโครงการอบรมความรู้ที่เหมาะสมกับอาชีพการเกษตรในท้องถิ่น
สถาบันพระปกเกล้า 21