Page 121 - kpiebook66032
P. 121
“มีเจ้าหน้าที่เทศบาลจากสำนักช่างมาช่วยก่อสร้างห้องน้ำ บริษัทต่าง ๆ
ในพื้นที่ เช่น บริษัทปูนซิเมนต์ที่มีสำนักงานในพื้นที่ ก็มาช่วยบริจาควัสดุอุปกรณ์
โดยเทศบาลได้ทำหนังสือขอรับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์เพื่อมาสร้างห้องน้ำให้
ผู้พิการ เพราะเราเจอว่า ผู้พิการรายนี้ ไม่มีบ้านอยู่ในทะเบียน ทำให้ไม่สามารถ
ของบช่วยเหลือจากส่วนราชการได้ วิธีแก้ปัญหาของเทศบาล คือ หันมาขอความ
ช่วยเหลือจากเครือข่ายที่เป็นภาคเอกชน และประชาชนในชุมชนก็ได้ระดมทุน
ช่วย ๆ กัน” ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
118
บทส่งท้าย
อาจกล่าวได้ว่า กว่าที่เทศบาลนครสุราษฎร์ธานีจะมาถึงจุดนี้ได้ สิ่งที่เป็นปัจจัยให้
การดำเนินงานประสบความสำเร็จมีหลากหลายมาก ทั้งส่วนที่อยู่ในองค์กร อาทิ ความตั้งใจ
ของผู้บริหาร บุคลากรที่มุ่งมั่น มีหน่วยงานต่าง ๆ ของเทศบาลที่สนับสนุนการเคลื่อนงาน
รวมถึง Mindset ของเจ้าหน้าที่คนทำงานของแกนนำชุมชน และเครือข่ายและภาคประชาชน
ที่เข้มแข็งที่หันมาให้ความสำคัญกับกลุ่มเปราะบางในพื้นที่ โดยการระดมทรัพยากรการมี
ส่วนร่วมของภาคประชาชนอาสาสมัคร GIS เพื่อบันทึกพิกัดทางภูมิศาสตร์ (GPS)
กลุ่มเปราะบาง และจัดทำฐานข้อมูล (Data Base) ที่ถูกต้องครอบคลุมพื้นที่ โดยใช้ระบบดิจิทัล
Google My Maps เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการตรวจเยี่ยมติดตามตรวจสอบการเข้าถึงสิทธิ
กลุ่มผู้เปราะบางในเขตเทศบาล ให้ได้รับการแก้ไขปัญหา อาทิ ได้รับเบี้ยยังชีพ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ
การเข้าถึงสิทธิสวัสดิการทางสังคมขั้นพื้นฐานที่กฎหมายกำหนด และพัฒนาเป็นฐานข้อมูลเดียว
(One data for all) ที่ทุกหน่วยงานสามารถเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลดิจิทัลได้อย่างเป็น
ระบบ เพื่อลดจำนวนข้อมูลที่ซ้ำซ้อน ลดต้นทุนในการจัดเก็บข้อมูล และเพิ่มการใช้ประโยชน์
จากข้อมูลชุดเดียวกันอย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้สามารถจัดสวัสดิการทางสังคม และบริการ ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น
สาธารณะแก่ประชาชนทุกคนให้ได้เข้าถึงสิทธิสวัสดิการทางสังคมได้อย่างเท่าเทียมครบถ้วน
118 Personal communication, 21 มีนาคม 2566.
สถาบันพระปกเกล้า 11