Page 124 - kpiebook66032
P. 124
ลักษณะทางสังคมของเทศบาลเมืองกะทู้ มีลักษณะเป็นกึ่งสังคมเมืองกึ่งสังคมชนบท
ประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะปานกลาง นับถือศาสนาพุทธ และเป็นคนไทยเชื้อสายจีนกว่าร้อยละ 80
ประเพณีท้องถิ่นที่สำคัญ ได้แก่ ประเพณีกินผักเจี๊ยะฉ่าย ประเพณีตรุษจีน ประเพณี
ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD) ประเภทไม้ยืนต้น เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว สะตอและหมาก นอกจากนี้ ยังมี
ไหว้เทวดา ไหว้พระจันทร์ ประเพณีเชงเม้ง และประเพณีพ้อต่อ
ระบบเศรษฐกิจในพื้นที่ ประกอบด้วยเกษตรกรจำนวน 866 ราย (ข้อมูล พ.ศ.2559)
ประเภทไม้ผลอย่างทุเรียน เงาะและลองกอง ตลอดจนพืชผัก ส่วนการทำประมงมีทั้งสถานที่
เพาะพันธุ์สัตว์น้ำเอกชนจำนวน 4 แห่ง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การทำปศุสัตว์ส่วนมาก
เป็นการเลี้ยงไก่ เป็ด สุกร โค และแพะ ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมมีทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง
และขนาดเล็ก รวม 19 แห่ง ขณะที่ภาคบริการ ได้แก่ ธนาคาร สถานีบริการน้ำมัน ตลาดสด
โรงแรม และร้านอาหาร (ข้อมูล พ.ศ. 2559)
ในพื้นที่มีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ 2 แห่ง ได้แก่ น้ำตกกะทู้และน้ำตก ร.6 เป็นน้ำตก
ขนาดเล็กที่ตั้งห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 15 กิโลเมตร นอกจากนี้ มีเขื่อนบางวาด เป็น
เขื่อนกักเก็บน้ำของกรมชลประทาน ส่งน้ำดิบเพื่อทำน้ำประปา เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ
และเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนสำหรับคนในพื้นที่ และแหล่งท่องเที่ยงเชิงประวัติศาสตร์ ได้แก่
พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่กะทู้ ภายในจัดแสดงอาชีพของชาวกะทู้ ทั้งการทำเหมืองแร่ เช่น เหมืองฉีด
เหมืองสูบ เหมืองแล่น เป็นแร่ดีบุก อุปกรณ์ทำเหมืองแร่ในยุคที่การผลิตและการค้าแร่ดีบุก
รุ่งเรือง
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น จันทรัตนวงศ์ นายสมบูรณ์ อัยรักษ์ และ นางสมทรง ประสานสม เป็นรองนายเทศมนตรี
ทำความรู้จักเทสบาลเมืองกะทู้
คณะผู้บริหารประกอบด้วย นายชัยอนันท์ สุทธิกุล เป็นนายกเทศมนตรี มีนายอรรถาพงษ์
รวม 3 ท่าน นายกิตติศักดิ์ บุญเอิบ เป็นประธานสภาเทศบาลฯ และนางทัศนี แซ่ทอง เป็น
ปลัดเทศบาลฯ สมาชิกสภามีทั้งสิ้น 18 คน เป็นชาย 17 คน เป็นหญิง 1 คน (สถาบันพระปกเกล้า,
2565) 122
โครงสร้างส่วนราชการของเทศบาลกะทู้ ประกอบด้วย สำนักปลัด กองคลัง กองช่าง
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ กองการศึกษา และ
กองสวัสดิการสังคม
122 สถาบันพระปกเกล้า, รางวัลพระปกเกล้า, 65, (กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2565), 72.
11 สถาบันพระปกเกล้า