Page 111 - kpiebook66032
P. 111
อุปสรรคอีกประการหนึ่งคือ ช่วงแรกของการให้ความช่วยเหลือเพื่อปรับปรุง
สภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น แต่กลับไม่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าของบ้านเท่าที่ควร เนื่องจากกังวล
ว่าจะต้องมีค่าใช้จ่าย ทางเทศบาลได้แก้ไข ด้วยการสื่อสารทำความเข้าใจ และอาสาสมัคร GIS
กับประธานชุมชนได้ช่วยกันหาทางออกให้ โดยจัดหาช่างก่อสร้างจิตอาสามาช่วยปรับปรุง
สภาพแวดล้อมให้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ
“เรื่องที่ยากที่สุด คือ บ้านบางหลังเขาไม่ร่วมมือกับเรา บางกรณีที่บ้าน
ทรุดโทรม ไม่มีห้องน้ำ เมื่อเราจะไปเสนอช่วยเขา แต่เจ้าของบ้านกลับไม่เต็มใจ ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
และไม่ให้ความร่วมมือ เราก็คุยกับประธานชุมชน ให้ช่วยแก้ปัญหาด้วยการหา
ช่างจิตอาสามาช่วย เป็นต้น” 91
3) เพราะเป็นเรื่องใหม่ที่ต้องเรียนรู้และปรับตัว
การทำโครงการนี้ ถือได้ว่าค่อนข้างยากในช่วงแรกเลย เพราะเป็นเรื่องใหม่ ไม่เคยมี
ใครเคยคิดหรือทำมาก่อน ความยากครั้งแรก คือ การฝึกให้ “เจ้าหน้าที่เทศบาล” จัดการกับ
ข้อมูลชุมชน หลังจากนั้นเป็นการฝึกทำไปเรื่อย ๆ พร้อมกับการใช้งานจริง ทั้งกรณีการรับ
ถุงยังชีพในช่วงโควิด 19 ระบาด และการรับเบี้ยของกลุ่มผู้พิการและผู้สูงอายุ ซึ่งทำให้
เจ้าหน้าที่เทศบาลเกิดความชำนาญมากขึ้น
ส่วนฝั่งของ “ประชาชน” ความยาก คือ การแชร์ Location ซึ่งน้อยคนที่สามารถ
ทำได้ แต่เทศบาลได้จัดการอบรม 2-3 ครั้ง มิใช่แค่สอนครั้งเดียว ทั้งยังมีลงพื้นที่เพื่อฝึกการระบุ
พิกัดพร้อมกันระหว่างประชาชนกับเทศบาล ซึ่งช่วยให้ทีมภาคประชาชนทำได้คล่องแคล่ว
มากขึ้น บางครั้งก็ฝากการบ้าน ให้ประชาชนลองทำแล้วส่งมาให้กองสวัสดิการสังคมตรวจสอบ
และเช็คความถูกต้องของจุดพิกัดในแผนที่ไปกับกองสารสนเทศฯ อีกครั้ง หลังจากนั้นก็ทำอย่าง ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น
ต่อเนื่อง ขยายการทำฐานข้อมูลและระบุพิกัดกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาใช้
ในการต่อใบอนุญาตอื่น ๆ ต่อไป 92
91 Personal communication, 2 พฤษภาคม 2566.
92 Personal communication, 21 มีนาคม 2566.
สถาบันพระปกเกล้า 10