Page 205 - kpiebook66030
P. 205

สรุปการประชุมวิชาการ   1
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
                                                                                ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


                   สอง ทำให้เกิด Kindleberger Trap กล่าวคือ หากวันหนึ่งจีนก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจ
             แทน จีนจะมีอำนาจมากพอที่จะทำให้เกิดการจัดสรรผลประโยชน์แก่ประเทศต่าง ๆ อย่างลงตัว
             หรือไม่ และสามารถทำให้ประเทศต่าง ๆ ยอมรับได้หรือไม่ หากทำไม่ได้ จะส่งผลกระทบต่อ
             ระเบียบโลกหรือไม่ และอาจจะนำไปสู่สงครามได้ เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นเมื่อสหรัฐอเมริกา

             ผงาดขึ้นมาแทนอังกฤษ

                   สาม ทำให้เกิด Gramsci Trap กล่าวคือ เป็นวิกฤตในการจัดระเบียบโลก เพราะระบบ
             ของระเบียบโลกเดิมที่เคยเชื่อกันเริ่มถูกท้าทายและอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งในช่วงกำลัง
             เปลี่ยนผ่านนี้ อาจนำไปสู่การเกิดขึ้นของระบบที่แปลกไป เช่น นโยบายประชานิยมรูปแบบใหม่

             ซึ่งเกิดจากการผุกร่อนของระเบียบโลกเดิม ฉะนั้น ในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ทำให้หลายประเทศ
             ต้องทบทวนว่าจะดำเนินนโยบายต่างประเทศอย่างไร ควรเลือกข้างเด็ดขาดหรือไม่ หรือควรจะ
             ดำเนินนโยบายแบบโอนอ่อนผ่อนตาม


                   ความชอบธรรมของผู้นำทั้งสองระบบ ผู้นำประชาธิปไตยยังคงได้รับการยอมรับมากกว่า
             ผู้นำที่ขึ้นมาด้วยระบอบเผด็จการ แม้ว่าบางครั้งผู้นำที่มาด้วยวิธีการทางประชาธิปไตย อาจจะ
             ล้มเหลวในการบริหารประเทศบ้าง แต่ยังมีจุดยึดโยงที่ผู้นำคนนั้นมีความเป็นตัวแทนและยึดโยง
             กับประชาชน


                   ประเด็นที่สี่ เมื่อเกิดความท้าทายในลักษณะนี้ ประชาธิปไตยจะปรับตัวอย่างไร

                   เมื่อพิจารณาการเติบโตทางเศรษฐกิจ พบว่า จีนมีความเหลื่อมล้ำในสังคมน้อยกว่า
             ขณะที่ประเทศที่เป็นประชาธิปไตย เศรษฐกิจเสรีนิยม มีความเหลื่อมล้ำในสังคมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
             อีกทั้งในช่วงวิกฤต COVID-19 ที่ผ่านมา เกิดผลกระทบอย่างท้าทายต่อระบอบประชาธิปไตย

             ซึ่งแก้ปัญหาในภาวะวิกฤตได้แย่กว่าและช้ากว่า ขณะที่ระบอบเผด็จการอาจจะทำได้รวดเร็วกว่า
             ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม ระบอบการปกครอง
             ทั้งสองรูปแบบก็สามารถจัดการกับภาวะวิกฤตของประเทศได้ทั้งสิ้น แม้ว่าในระยะสั้น ระบอบ

             เผด็จการอาจจะมีความรวดเร็ว ชัดเจน แต่ในระยะยาว ระบอบประชาธิปไตยอาจจะดีกว่า
             เพราะว่าระบอบเผด็จการอาจจะเกิดปัญหาที่ปะทุขึ้นมาในภายหลัง จากการจัดการแบบ
             เผด็จการ ระบบปกปิด ไม่มีทางรู้ได้เลย ไม่ได้คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ สร้างความไม่พอใจให้กับ
             ประชาชน ทำให้เกิดความวุ่นวายตามมาได้ แต่ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงจะมีกลไก
             บางอย่างที่เยียวยาได้ นั่นคือ ประชาธิปไตยเป็นระบบเปิด เน้นความโปร่งใส ยึดถือหลักนิติรัฐ

             หลักนิติธรรม และยอมรับความแตกต่าง

                   เราจะทำอย่างไรเพื่อให้ประชาธิปไตยรับมือกับความท้าทายใหม่ได้ ข้อเสนอแรก คือ
             ต้องทำให้ประชาธิปไตยของประเทศเข้มแข็งก่อน ก่อนที่จะดำเนินนโยบายต่อไปในอนาคต               สรุปสาระสำคัญผลการนำเสนอการประชุมกลุ่มย่อย
             ไม่ว่าจะเป็นการเลือกข้างหรือปรับตัวอย่างไร ประชาธิปไตยเปรียบเสมือนเสา ทำให้ต้องสร้าง

             เสานี้ให้แข็งแรงก่อน โดยสร้างความแข็งแรงได้จาก (1) สร้างการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เช่น
   200   201   202   203   204   205   206   207   208   209   210