Page 203 - kpiebook66030
P. 203

สรุปการประชุมวิชาการ   1
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
                                                                                ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


             ไม่ได้หมายความถึง ให้รัฐเป็นผู้เปิดเผยข้อมูลเพียงฝ่ายเดียว แต่ประชาชนเองก็สามารถสร้าง
             ข้อมูลคู่ขนานไปกับภาครัฐได้ เพื่อให้เกิดความแน่ชัดว่า ข้อมูลของทั้ง ภาครัฐและ
             ภาคประชาชนมีความผิดปกติหรือไม่ อย่างไร และถ้าประชาชนสามารถสร้างฐานข้อมูลขึ้นมา
             เป็นของตัวเองได้ จะทำให้เกิดการใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น ความรู้สึกเป็นเจ้าของ

             อำนาจรัฐก็จะมีมากขึ้นเช่นกัน

                   (3) รัฐบาลควรจะต้องเป็นเจ้าภาพ แต่ไม่ใช่เจ้าของหรือเป็นคนสั่งการ ให้ภาคประชาชน
             เป็นแกนนำในการขับเคลื่อนและสร้างแพลตฟอร์มของตัวเองขึ้นมา ซึ่งการดูแลแพลตฟอร์มนั้น
             อาจจำเป็นต้องมีองค์กรที่มีความเฉพาะมาสร้างวัคซีนไซเบอร์ให้กับประชาชน คล้ายกับเป็น

             มาตรการในการบรรเทาความเสียหาย หากเกิดผลกระทบภัยคุกคามไซเบอร์ขึ้นมาด้วย

                   (4) ข้อถกเถียงที่ว่า การเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐคืออะไร การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล
             ของประชาชนคืออะไร จำเป็นต้องคิดในเชิงละเอียดและแยกแยะประเด็นของข้อมูล เรื่องที่

             จำเป็นเพื่อการตรวจสอบก็ควรจะเปิดเผย เรื่องที่ไม่จำเป็นต่อการตรวจสอบการทำงานของ
             ภาครัฐก็ควรจะปกปิดเอาไว้ เพื่อรักษาความเป็นส่วนบุคคลให้กับประชาชน การแยกแยะนี้
             เป็นไปเพื่อป้องกันปัญหาการตีความ ลดปัญหาการใช้ดุลยพินิจ ซึ่งอาจใช้เทคโนโลยีช่วยในเรื่อง
             นี้ได้ แม้ว่าเทคโนโลยีเป็นภัยคุกคาม ขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสที่จะนำไปใช้ประโยชน์

             ในการจัดการภัยคุกคามจากตัวมันเองได้ด้วยเช่นกัน

                   กล่าวโดยสรุปของกลุ่มย่อยที่ 1 คือ ความมั่นคงทางไซเบอร์ใหม่ คือ การมองหาสมดุล
             ระหว่างความเป็นส่วนตัวของบุคคลกับการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐด้วย


             สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 2
             นางสาวชมพูนุท ตั้งถาวร


                   ประเด็นสำคัญของกลุ่มย่อยที่ 2 สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้


                   ประเด็นที่หนึ่ง ลักษณะของการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ในปัจจุบัน

                   ในปัจจุบันโลกกำลังเข้าสู่ภาวะขั้วอำนาจแบบสองขั้ว ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
             ที่มีลักษณะหลายขั้วอำนาจ อำนาจใหม่ทั้งสองขั้วในที่นี้คือ จีน และสหรัฐอเมริกา ที่ต่างก็เป็น
             ประเทศมหาอำนาจที่มีระบอบการปกครองที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง


                   ประเด็นที่สอง ผลกระทบจากการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ในปัจจุบันส่งผลกระทบ
             อย่างไรกับประชาธิปไตย                                                                     สรุปสาระสำคัญผลการนำเสนอการประชุมกลุ่มย่อย

                   เนื่องจากจีนและสหรัฐอเมริกามีลักษณะการปกครองที่ไม่เหมือนกัน เมื่อเกิดการปะทะ
             กันแล้วก็ทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างระเบียบโลก 2 ชุด นั่นคือ ระเบียบเศรษฐกิจ ระหว่าง
   198   199   200   201   202   203   204   205   206   207   208