Page 204 - kpiebook66030
P. 204
สรุปการประชุมวิชาการ
1 สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
ทุนนิยมเศรษฐกิจเสรีแบบสหรัฐอเมริกา และเศรษฐกิจที่รัฐบาลเข้ามามีบทบาทอย่างมาก
ในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบจีน ฉะนั้น จึงอยู่กับว่า ประเทศอื่น ๆ จะเชื่ออย่างไร ก็จะเอียงเอน
ไปทางขั้วอำนาจนั้น
ประเด็นที่สาม ความชอบธรรมของผู้นำแบบเผด็จการอำนาจนิยมและประชาธิปไตย
เมื่อเข้าสู่ภาวการณ์การแข่งขัน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา
จึงมีลักษณะห่างออกจากกันมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ลดการพึ่งพิงกัน ซึ่งจีนพยายามลดใช้
เงินดอลลาร์สหรัฐ อีกทั้งขั้วอำนาจทั้งสองจะแข่งขันกันทุกเรื่อง มีลักษณะเป็น 3Ts กับ 1I
กล่าวคือ 3Ts ได้แก่ Trade War: แข่งขันทางการค้า, Tech War: การแข่งขันทางเทคโนโลยี
และ Territory War: การแย่งชิงทางด้านพื้นที่ นั่นคือ Taiwan ขณะที่ 1I คือ Infrastructure:
โครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค ตามที่ได้เห็นกันว่า ประเทศมหาอำนาจพยายามเข้าไปช่วย
สร้างสาธารณูปโภคให้กับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เช่น จีนเข้าไปสร้าง infrastructure ให้กับ
ประเทศอื่น ๆ ขณะที่อีกฝ่ายหนึ่งก็จะพูดถึง quality infrastructure ตลอดจน ยังมีการช่วงชิง
การกำหนดนิยามคำว่า ประชาธิปไตย ทั้งสองขั้วอำนาจมองประชาธิปไตยคนละมุมมอง จีนเอง
ก็มองว่า ตนมีความเป็นประชาธิปไตยเช่นกัน แต่เป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ที่มีระบบเศรษฐกิจ
แตกต่างออกไป
ลักษณะภูมิรัฐศาสตร์ที่มีการแข่งขันของสองขั้วอำนาจทำให้เกิด New Cold War ที่ไม่ใช่
รูปแบบเดิมแบบที่เคยเกิดสงครามเย็นในอดีต นอกจากจะมีลักษณะเป็น 3Ts กับ 1I ยังเป็น
สงครามทางการเงิน (Financial Cold War) ที่ส่งผลต่อการวางตัวของประเทศต่าง ๆ ด้วย
กล่าวคือ อาจจะไม่มีการแบ่งข้างอย่างเด็ดขาดแบบยุคเก่า แต่ละประเทศต้องวางตัวให้ดีว่าจะไป
ในทิศทางใด
นอกจากนี้ ยังมีการรวมกลุ่มเพื่อแข่งขัน ซึ่งไม่ใช่ระดับพหุภาคีอีกต่อไป แต่เป็นการรวมกลุ่ม
แบบไม่เป็นทางการ เช่น กรอบความร่วมมือ Quad ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันในอินโดแปซิฟิก
ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดีย และออสเตรเลีย รวมถึงจีนที่พยายามเข้ามามีบทบาท
ในอาเซียนในการช่วยเหลือด้านการพัฒนา ซึ่งการแสดงบทบาทของจีนกับสหรัฐอเมริกา
สรุปสาระสำคัญผลการนำเสนอการประชุมกลุ่มย่อย
มีความแตกต่างกัน กรณีจีน เมื่อเข้าไปให้ความร่วมมือหรือความช่วยเหลือแก่ประเทศอื่น
มักจะเข้าไปโดยปราศจากเงื่อนไข แต่ตอนออกมาอาจเกิดความเกรงใจกัน ขณะที่กรณี
สหรัฐอเมริกา จะเข้าไปพร้อมกับเงื่อนไข เช่น การออกกฎหมายเคารพสิทธิมนุษยชน
ผลกระทบต่อภูมิรัฐศาสตร์โลก หนึ่ง ทำให้เกิด Thucydides’s Trap หรือกับดักสงคราม
เป็นการผงาดขึ้นมาของจีนแทนที่สหรัฐอเมริกา และอาจนำไปสู่สงครามระหว่างประเทศ
แต่วิทยากรได้ชี้ให้เห็นว่า หากมองบริบทในปัจจุบัน อาจจะมีปัจจัยที่ทำให้สงครามยังไม่เกิดขึ้น
เช่น (1) มีการป้องปรามอาวุธนิวเคลียร์ (2) มีความต้องพึ่งพาทางเศรษฐกิจระหว่างกันอยู่
(3) มีกติกาและข้อจำกัดต่าง ๆ เช่น จีนยังคงยืนยันว่าการดำเนินนโยบายของจีนเป็น
การปฏิรูปไม่ใช่ปฏิวัติ ซึ่งไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงแบบทันทีทันใด