Page 202 - kpiebook66030
P. 202

สรุปการประชุมวิชาการ
     1 2 สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
       ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


           ภัยคุกคามทางไซเบอร์จึงไม่ใช่เพียงปัญหาเชิงเทคนิค แต่ก้าวเข้ามาสู่พรมแดนของชีวิตของเรา
           นั่นคือ ความส่วนตัวของข้อมูลที่บางเรื่องเราอยากให้ใครรู้ และบางเรื่องที่เราไม่อยากให้ใครรู้
           ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เราต้องการปกป้อง ป้องกันให้เป็นความลับ เกิดความเป็นส่วนตัว เป็นต้น


                 ประเด็นที่สอง โครงสร้างประชาธิปไตยรูปแบบใดที่จะสามารถรองรับความห่วงกังวล
           และประเด็นความท้าทายใหม่ ๆ เหล่านี้ได้

                 ในระดับรัฐบาล การรับมือกับภัยคุมคามทางไซเบอร์ในอดีตรัฐบาลจะออกกฎหมาย
           เพื่อกำกับ บังคับ ควบคุม ทำให้ถูกมองว่าเป็นการก้าวล่วงสิทธิเสรีภาพของบุคคล อย่างไร

           ก็ตาม ในปัจจุบันไม่ได้เป็นการละเมิดโดยรัฐต่อบุคคลแล้ว แต่เป็นการละเมิดจากแพลตฟอร์ม
           ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ โดยที่เราสมัครใจสมัครใช้งานและใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มนั้น
           สมัครใจที่จะให้ข้อมูลเองโดยยอมแลกกับการใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มต่าง ๆ ซึ่งข้อมูล
           เหล่านั้นถูกนำไปใช้ประโยชน์โดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นในปัจจุบันกฎหมายที่ออกโดยรัฐจึงมุ่งที่

           จะคุ้มครองความเป็นส่วนตัวให้กับผู้คน

                 ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ
           คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562
           พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เจตนารมณ์ของกฎหมายเหล่านี้คือ เพื่อปกป้อง

           คุ้มครองความเป็นส่วนตัวของคนในสังคม และสร้างความมั่นคงทางไซเบอร์ให้กับประเทศชาติ
           โดยรวม อย่างไรก็ตาม หากมองในมิติการเมืองการปกครอง การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลคือ
           การปกปิดข้อมูล ขณะที่ตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เราต้องการให้เกิด
           การเปิดเผยข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลที่เป็นสาธารณะ ข้อมูลที่เป็นของรัฐหรือที่รัฐดูแลอยู่ เพื่อให้

           เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ จึงเกิดข้อถกเถียงว่า เราจะปิดเพื่อปกป้อง หรือเปิด
           เพื่อโปร่งใส ดุลยภาพของประเด็นนี้คืออะไร ประเด็นนี้จึงเป็นความท้าทายในเชิงการออกแบบ
           โครงสร้างและกฎหมายที่จะนำมาบังคับใช้

                 ประเด็นที่สาม ข้อเสนอแนะทางเลือกสำหรับประเทศไทยของเราเพื่อรับมือกับ

           ความท้าทายเหล่านี้
    สรุปสาระสำคัญผลการนำเสนอการประชุมกลุ่มย่อย
                 (1) การใช้ Digital Democracy คือ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้าง
           การมีส่วนรวม โดยเฉพาะสิ่งที่สำคัญคือ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจสาธารณะต่าง ๆ ซึ่งอาจ

           รวมถึงการตัดสินใจเลือกตัวแทน โดยนำเอาเทคโนโลยีต่าง ๆ มาช่วยในการจัดระบบเลือกตั้ง
           ลงคะแนนเสียงให้เกิดความบริสุทธิ์ยุติธรรม ตลอดจนการตัดสินใจในเชิงนโยบายต่าง ๆ จะทำ
           อย่างไรให้เกิดแพลต์ฟอร์มที่ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้

                 (2) การใช้ Open data government คือ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีให้ประชาชน

           สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นที่ภาครัฐดูแลอยู่ เพื่อใช้ตรวจสอบอำนาจรัฐ เป็นข้อมูล
           ของประชาชนเพื่อประกอบการตัดสินใจต่าง ๆ ซึ่งการสร้าง Open data government นี้
   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206   207