Page 210 - kpiebook66030
P. 210

สรุปการประชุมวิชาการ
     200 สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
       ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


           สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 5

           นางสาวธีรพรรณ ใจมั่น

                 ประเด็นสำคัญของกลุ่มย่อยที่ 5 สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้


                 ประเด็นที่หนึ่ง โลกาภิวัตน์กับการจัดระเบียบเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างไร

                 ความพลิกผันทางเศรษฐกิจไม่ใช่เรื่องใหม่ หากมองย้อนกลับไปสามารถแบ่งได้เป็น
           5 ยุค ได้แก่ (1) ยุคหลังสนธิสัญญาเบาว์ริง เป็นยุคของการล่าอาณานิคม เรายังสามารถ

           ปรับตัวให้เข้ากับยุคในช่วงนั้นได้ มีการวางรากฐาน สร้างสถาบันทุนนิยม ส่งนักเรียนไปเรียน
           ต่างประเทศเพื่อเรียนรู้การพัฒนาต่าง ๆ (2) ยุคการล่มสลายของชาตินิยมเศรษฐกิจกับ
           การเติบโตของภาคเกษตร โดยจะเห็นว่าภาคเกษตรมีส่วนสำคัญต่อการเติบโตเศรษฐกิจ
           ในช่วงนี้มีความขัดแย้งทางการเมืองเกิดขึ้นบ้างแล้ว เริ่มมีการเปลี่ยนแนวคิดการพัฒนา
           เศรษฐกิจที่เน้นเสรีนิยมมากยิ่งขึ้น (3) ยุคการเติบโตของอุตสาหกรรมการส่งออก เป็นช่วงที่

           สินค้าเกษตรซึ่งเคยรุ่งโรจน์ กำลังเริ่มตกต่ำ เกิดความขัดแย้งเรื่องที่ดินระหว่างรัฐกับคนชนบท
           มากขึ้น อัตราการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจสูงขึ้น (4) ยุควิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง
           เป็นความพยายามในการปรับตัวจากเศรษฐกิจฟองสบู่และวิกฤตทางการเงิน มีข้อตกลง

           แบบพหุภาคี นำไปสู่การตกลงในเชิงทวิภาคีและภูมิภาคมากยิ่งขึ้น (5) ยุคช่วงประมาณ 10 ปี
           ย้อนหลัง เป็นความพลิกผันทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ที่เราต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

                 ประเด็นที่สอง ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากความพลิกผันทางเศรษฐกิจ

                 โลกาภิวัตน์ทำให้โลกกระชับและใกล้ชิดกันขึ้น เชื่อมโยงและสนับสนุนกัน มีการ

           ลดต้นทุนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ทำให้บางประเทศหลุดออกจากสภาวะกับดักของ
           ความยากจนได้ ในทางกลับกัน ช่วงเวลานี้ไม่ใช่ยุคโลกาภิวัตน์ เพราะเกิดวิกฤตที่เรียกว่า
           deglobalization ส่งผลโดยตรงกับการปรับดุลอำนาจ ความสัมพันธ์กันระหว่างประเทศ
           มหาอำนาจต่าง ๆ ในช่วง 10 ปีให้หลังมานี้ คนที่ทำหน้าที่เป็นพี่ใหญ่ทัดเทียมกับสหรัฐอเมริกา

           คือ จีน อีกทั้งยังเกิดวิกฤตอาหารจากกรณีสงครามรัสเซีย-ยูเครน
    สรุปสาระสำคัญผลการนำเสนอการประชุมกลุ่มย่อย
                 ผลกระทบของโลกาภิวัตน์ทำให้เกิดโลกหลายขั้ว (multipolar world) มหาอำนาจอย่าง
           สหรัฐอเมริกาเริ่มถดถอยลง ในขณะที่จีนมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะเดียวกันอินเดีย
           ญี่ปุ่น เกาหลีก็เพิ่มบทบาทของตัวเองเพิ่มยิ่งขึ้น เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศ มีประเทศ

           ยากจนและประเทศที่ร่ำรวย เป็นความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ มีคนจน คนรวย ช่องว่างทาง
           รายได้มากยิ่งขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ แต่สหภาพยุโรปก็ยังคงมีบทบาท
           สำคัญในการเป็นมหาอำนาจที่จัดการหลายเรื่องได้ มีการวางมาตรฐานต่าง ๆ เพื่อกีดกันทาง
           ด้านการค้า
   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215