Page 29 - kpiebook66003
P. 29

28   การศึกษาเพื่อถอดบทเรียนและพัฒนาตัวแบบโรงเรียนแห่งความซื่อตรง



           มีเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายและลักษณะของความซื่อตรง ตามมาด้วย

           การเสริมสร้างความซื่อตรงในสถานศึกษา ปิดท้ายด้วยการเรียนรู้แบบใหม่:
           ค่านิยมใหม่ เทคโนโลยี และการเสริมสร้างความซื่อตรงในยุคดิจิทัล





           2.1     ความหมายและลักษณะของความซื่อตรง

                   ความซื่อตรงนั้นมีความหมายที่มีขอบเขตกว้างและครอบคลุมไปถึง

           ความดีงามสมบูรณ์พร้อม หากพิจารณาการให้ความหมายจากหลายแหล่ง
           จะพบว่า ความซื่อตรงนี้หากทำาให้เกิดขึ้นแล้วจะมั่นใจได้ว่าย่อมทำาให้สังคมนั้น

           เป็นสังคมที่ดีงามแน่นอน โดยความซื่อตรงเป็นคำาแปลจากภาษาอังกฤษ
           ว่า “Integrity” ความหมายของคำาว่า “integrity” ในหนังสือ “คุณธรรม
           และจริยธรรมของผู้บริหาร” เมื่อปี 2550 (วีรวิท คงศักดิ์, 2555) มีรากศัพท์

           มาจากคำาภาษาลาตินว่า “Integer” ซึ่งแปลว่า “Wholeness” หรือ
           ความครบถ้วนสมบูรณ์ ความเป็นจำานวนเต็ม (Heywood et al., 2017,

           p.16) ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วก็จะได้ความหมายที่ลึกซึ้งว่าคนที่จะเป็น
           คนเต็มคนนั้นจะต้องมี “Integrity” เป็นคุณธรรมประจำาตัว


                   จากรายงานการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความซื่อตรงในสังคมไทย :
           ปัญหา ตัวชี้วัด และแนวทางการพัฒนา โดยสถาบันพระปกเกล้า ได้ให้
           ความหมายของความซื่อตรงไว้ว่า หมายถึง การประพฤติตรง ไม่เอนเอียง

           ไร้เล่ห์เหลี่ยม ไม่คดโกง การกระทำาที่ซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา ประพฤติ
           ปฏิบัติตนสมำ่าเสมอทั้งต่อหน้าและลับหลัง รวมไปถึงการยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง

           ชอบธรรม (สถาบันพระปกเกล้า, 2555)

                   เช่นเดียวกันกับวีรวิท คงศักดิ์ (2555) ที่ให้ความหมายของคำาว่า

           ความซื่อตรง ว่าเป็นการกระทำาที่ซื่อสัตย์ สุจริต ตรงไปตรงมา ประพฤติปฏิบัติตน
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34