Page 30 - kpiebook66003
P. 30
29
อย่างสมำ่าเสมอทั้งต่อหน้าและลับหลัง การยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม
ความซื่อตรงถือเป็นค่านิยมสำาคัญในการสร้างธรรมาภิบาล (Good Governance)
หรือการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นภาครัฐและ
เอกชนต้องสร้างให้เกิดกับคนในองค์กร และการทำาให้ธรรมาภิบาล เกิดขึ้น
ในองค์กรใด ผู้บริหารต้องมีทศพิธราชธรรมข้อ “อาชวะ” ที่แปลว่า “ซื่อตรง”
และถ้าให้ดียิ่งขึ้นควรมีธรรมของผู้ปกครองอีกข้อหนึ่งคือ “อวิโรธนะ” แปลว่า
ไม่คลาดแคล้วจากธรรมะ คือการปฏิบัติตนอย่างเสมอต้นเสมอปลายในคุณธรรม
ความดี มีความซื่อสัตย์สุจริตและตรงไปตรงมา โดยปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ
และกฎระเบียบต่าง ๆ ที่ได้กำาหนดไว้อย่างเคร่งครัด (วีรวิท คงศักดิ์, 2555)
Barnard, Schurink and De Beer และ Heywood et al กล่าวถึง
ความซื่อตรงในแบบที่คล้ายกันว่า ความซื่อตรงก่อให้เกิดชุดของค่านิยม
และหลักการที่ทำาหน้าที่เป็นเหมือนบรรทัดฐานและมาตรฐาน ความซื่อตรง
จึงเป็นค่านิยมและหลักการที่เป็นบรรทัดฐานหรือมาตรฐานสำาหรับกำากับ
การกระทำาและการตัดสินใจทั้งหมดของคน (Barnard, Schurink and
De Beer, 2008, pp.40-49; Heywood et al., 2017, p.10) ความซื่อตรง
เป็นการกระทำาที่เกี่ยวข้องกับความซื่อสัตย์ โดยมีการกระทำาสมำ่าเสมอและ
แน่วแน่ที่ยึดมั่นในหลักการและค่านิยมทางศีลธรรมจริยธรรมแม้ไม่มีใครเห็น
จึงเป็นสภาวะที่แน่วแน่ในการยึดหลักคุณธรรมหรือมาตรฐานวิชาชีพ หลักการ
ทางศีลธรรมเหล่านี้เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต (Abolarin & Babalola, 2020, p.2)
การให้ความหมายว่าความซื่อตรงเป็นหลักการและค่านิยม
มีความสอดคล้องดังที่ท่านองคมนตรีธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้ยกตัวอย่าง
การปลูกฝังค่านิยมที่เกี่ยวกับคุณธรรมและความซื่อตรงของประเทศอังกฤษ
ซึ่งถือว่าการเป็นเด็กดีมีความสำาคัญและควรมาก่อนเด็กเก่ง ประเทศอังกฤษ
จึงปลูกฝังค่านิยม 7 ประการ ได้แก่ การพูดความจริงหรือสัจจะ (Truth)
ความซื่อสัตย์สุจริต (Honesty) ความสำานึกในหน้าที่ (Sense of Duty)