Page 31 - kpiebook66003
P. 31

30   การศึกษาเพื่อถอดบทเรียนและพัฒนาตัวแบบโรงเรียนแห่งความซื่อตรง



           ความอดกลั้น (Patience) ความเป็นธรรม (Fair play) ความเอาใจเขา

           มาใส่ใจเรา (Consideration for others) และเมตตาธรรม (Kindness)
           เมื่อบุคคลใดมีครบถ้วนก็ถือได้ว่าเป็นผู้มีความซื่อตรง

                   สำาหรับลักษณะของความซื่อตรงนั้น มีผู้กล่าวว่าอาจเข้าใจยาก

           เพราะมีความไม่ชัดเจนและยังมีการตีความที่แตกต่างกัน บ้างกล่าวว่า
           ความซื่อตรงเหมือนกับอากาศ คือ ทุกคนต่างกล่าวถึงแต่ไม่รู้ว่าจะทำาอย่างไร

           กับความซื่อตรง (Heywood et al., 2017, p.9) การตีความลักษณะของ
           ความซื่อตรงว่าอะไรคือความซื่อตรงสามารถพิจารณาได้ตั้งแต่ระดับของ
           แนวคิดของความซื่อตรงในฐานะที่เป็นภาพรวม ไปจนถึงความซื่อตรงที่เป็น

           พฤติกรรมทางศีลธรรม หรือความซื่อตรงในฐานะที่เป็นการปฏิบัติในเชิง
           กฎหมายและระเบียบ (Huberts, 2005)


                   หากกล่าวถึงความซื่อตรงให้เข้าใจมากขึ้นในภาพรวม คณะผู้วิจัย
           ขอยกตัวอย่างงานวิจัยของ Barnard, Schurink and De Beer (2008)
           ที่พัฒนากรอบแนวคิดเกี่ยวกับความซื่อตรงด้วยวิธีการวิจัยโดยการสร้าง

           ทฤษฎีรากฐาน (Grounded Theory Study) Barnard, Schurink and
           De Beer ทำาการค้นคว้าเอกสารและสัมภาษณ์ตัวแทนกลุ่มธุรกิจเกี่ยวกับ

           ความซื่อตรง แล้วนำาผลจากการรวบรวมข้อมูลที่ได้มาพัฒนาเสนอกรอบแนวคิด
           เกี่ยวกับความซื่อตรงว่าประกอบด้วยสาระสำาคัญ 5 ประการ ได้แก่ แรงขับ
           พื้นฐานของความซื่อตรง การแสดงออกซึ่งความถูกต้อง หน้าที่ของ

           ความซื่อตรง บริบทในการพัฒนาความซื่อตรง และสมรรถนะด้านความซื่อตรง
           โดยมีคำาอธิบายของสาระสำาคัญ ดังนี้
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36