Page 22 - kpiebook66003
P. 22
21
“ความซื่อตรง” เป็นคุณค่าที่สำาคัญของการสร้างธรรมาภิบาล
โดยทำาให้เกิดความเชื่อถือและศรัทธา ความซื่อตรงมีความหมายที่สอดคล้อง
กับภาษาอังกฤษว่า “Integrity” ซึ่งมีรากศัพท์จากภาษาละตินที่แปลว่า
“Wholeness” หมายถึง ความเป็นจำานวนเต็ม ความครบถ้วนสมบูรณ์
(สถาบันพระปกเกล้า, 2555) ลักษณะความครบถ้วนสมบูรณ์นี้อาจอธิบาย
ให้เห็นขอบเขตที่ชัดเจนได้ว่า ความซื่อตรงเป็นแนวคิดหรือพฤติกรรม
ที่ต้องได้รับการพัฒนาตั้งแต่ระดับบุคคลและเริ่มได้จากตนเอง คือ การรู้
ในความผิดชอบชั่วดี ซื่อสัตย์ต่อตนเองแม้ไม่มีใครรู้เห็น ไม่หลอกลวงหรือ
แก้ตัวให้กับตนเองเมื่อกระทำาสิ่งที่ผิดหรือไม่สมควร ที่ระดับบุคคลนี้ ยังรวม
ไปถึงความซื่อตรงต่อเวลา ได้แก่ การทำาการต่าง ๆ ได้ตามเวลาที่กำาหนดไว้ เช่น
การไปพบผู้อื่นตามเวลาที่ได้นัดหมายไว้และการทำางานได้ตามกำาหนดเวลาที่
วางไว้ ถือเป็นการเห็นความสำาคัญในเรื่องเวลา บริหารเวลาในการทำางานได้
และไม่เบียดเบียนเวลาผู้อื่น จุดเริ่มต้นของความซื่อตรงที่เริ่มจากซื่อตรง
ต่อตนเองนี้ ยังพัฒนาต่อไปถึงความซื่อตรงต่อบุคคลอื่น สังคม และ
ประเทศชาติ คือการมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง ไม่สร้างผลกระทบทางลบต่อ
บุคคลอื่นและสังคมโดยรวม เช่น มีความจริงใจ สามัคคี ไม่คิดร้ายต่อกัน ฯลฯ
ทำาให้เกิดความไว้วางใจกันและเกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน นอกจากนี้
ในพื้นที่ของการทำางานในชีวิตประจำาวัน ความซื่อตรงก็สามารถนำาไปใช้
ต่อหน้าที่การงานที่รับผิดชอบได้เช่นกัน โดยการมีความตั้งใจทำางานในหน้าที่
รับผิดชอบของตนอย่างเต็มความสามารถ ไม่ปล่อยงานคั่งค้าง ไม่ละทิ้ง
หน้าที่รับผิดชอบ ไม่ทุจริตในหน้าที่การงาน เป็นต้น (วีรวิท คงศักดิ์, 2555;
สถาบันพระปกเกล้า, 2555, หน้า 23-27)
การเสริมสร้างความซื่อตรงในกลุ่มเยาวชน มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
หลายชิ้น ในประเทศไทยส่วนใหญ่ศึกษากระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม
โดยมีสถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษาเป็นหลัก และสถาบันอื่นในสังคม