Page 21 - kpiebook66003
P. 21
20 การศึกษาเพื่อถอดบทเรียนและพัฒนาตัวแบบโรงเรียนแห่งความซื่อตรง
โดยเฉลี่ยแล้วได้เพียง 43 คะแนน นั่นหมายถึง หลายประเทศส่วนใหญ่
ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันได้ ซึ่งรวมถึงประเทศไทย
ที่มีคะแนนเท่าเดิม คือ 36 คะแนน เท่ากับปี 2562 จัดอยู่ในลำาดับที่ 104
และอยู่ในอันดับที่ 5 ของกลุ่มประเทศอาเซียนเท่ากับประเทศเวียดนาม
และเป็นการได้ลำาดับที่ลดลงจากอันดับที่ 101 ในปี พ.ศ. 2562 แต่ยังคงได้
คะแนนเท่าเดิม นั่นหมายถึง การทุจริตคอร์รัปชันยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
และหากเจาะลึกลงไปในสถานการณ์นี้ ยังพบว่า สังคมไทยมีแนวโน้มของ
การยอมรับการทุจริต เพื่อให้ตนเองได้รับประโยชน์ ไม่เว้นแม้แต่ในเยาวชน
ตัวอย่างผลสำารวจโครงการคนไทยมอนิเตอร์ 2557 โดยมูลนิธิเพื่อคนไทย
ซึ่งได้ทำาการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เยาวชน จำานวนถึง 4,000 คน
จากเยาวชนที่มีอายุ 15-24 ปีบริบูรณ์ ใน 21 จังหวัด ทั้งกรุงเทพมหานคร
และ 6 ภูมิภาคทั่วประเทศ โดยผลการสำารวจในประเด็นการทุจริตคอร์รัปชัน
พบว่า เยาวชนจำานวนมากมีพฤติกรรมทุจริตคอร์รัปชั่น และเห็นว่า
เป็นเรื่องที่ไม่ผิดมากหรือไม่ผิดเลย นอกจากนี้จากเหตุการณ์สมมุติพบว่า
เยาวชนร้อยละ 25 ยินดีจ่ายสินบนเพื่อให้สอบใบขับขี่ผ่าน ร้อยละ 18
เคยให้เงินตำารวจเพื่อหลีกเลี่ยงใบสั่ง และ ร้อยละ 38 เห็นว่าการกระทำา
ดังกล่าวไม่ผิดมากหรือไม่ผิดเลย เยาวชนร้อยละ 81 เคยลอกข้อสอบ และ
ร้อยละ 75 เห็นว่าการกระทำาดังกล่าวไม่ผิดมากหรือไม่ผิดเลย ร้อยละ 63
เคยลงชื่อเข้าเรียนแทน และ ร้อยละ 73 เห็นว่าการกระทำาดังกล่าวไม่ผิดมาก
หรือไม่ผิดเลย สถานการณ์ดังกล่าวบ่งชี้ถึงแนวโน้มที่น่าเป็นกังวลต่อคุณภาพ
สังคมไทยในอนาคตเป็นอย่างยิ่ง (มูลนิธิเพื่อ “คนไทย”, 2557) สาเหตุหนึ่ง
เป็นเพราะการขาดวัฒนธรรมพื้นฐานในเรื่อง “ความซื่อตรง” ในทุกระดับ
ขณะเดียวกันกลไกที่เกี่ยวข้องอย่างระบบพัฒนาแบบอย่างด้านความซื่อตรง
การพัฒนาความร่วมมือจากทุกภาคส่วน การบังคับใช้ระเบียบและกฎหมาย
หรือสื่อมวลชน ต่างไม่ได้ถูกผลักดันให้หนุนเสริมพฤติกรรมที่มีความซื่อตรง
ทำาให้เกิดเป็นปัญหาที่กระทบไปถึงภาพรวมของการพัฒนาประเทศ