Page 23 - kpiebook66003
P. 23
22 การศึกษาเพื่อถอดบทเรียนและพัฒนาตัวแบบโรงเรียนแห่งความซื่อตรง
ประคับประคองหล่อหลอม ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยของ สายฤดี วรกิจโภคาทร
และคณะ (2552) ศึกษาคุณลักษณะและกระบวนการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม
ของประเทศไทย พบว่า ตัวแบบที่มีคุณธรรมจริยธรรมมีความสำาคัญอย่างยิ่ง
รวมทั้งการสร้างสรรค์กิจกรรมและสื่อเพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม
ในสังคม เอื้อให้เกิดการสร้างกฎ ระเบียบ และมาตรฐานด้านคุณธรรม
หรืองานวิจัยเกี่ยวกับการปลูกฝังคุณธรรมของหลายประเทศ เช่น นิวซีแลนด์
(ฉลวยวรรณ ปัญญา, 2549) เยอรมัน (ชุมพล เที่ยงธรรม, 2549)
สวิตเซอร์แลนด์ (สมชาย เสริมแก้ว, 2549) แคนาดา (อลิศรา ชูชาติ, 2549)
เกาหลี (จินตนา พุทธเมตะ, 2548) ไต้หวัน (เดิมแท้ ชาวหินฟ้า, 2548)
อินเดีย (ธนพล จาดใจดี, 2548) ศรีลังกา (ธัมมนันทาภิกษุณี และ
ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์, 2548) ฟินแลนด์ (มาร์จาร์-ลีนา ฮิกกิลา-ฮอร์น, 2548)
เป็นต้น สำาหรับสถาบันพระปกเกล้า ใน พ.ศ. 2554-2555 ได้ดำาเนิน
โครงการศึกษาเพื่อเสริมสร้างความซื่อตรงในสังคมไทย: ปัญหา ตัวชี้วัด
และแนวทางการพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความบกพร่องด้าน
ความซื่อตรงในสังคมไทย พัฒนายุทธศาสตร์ และเสนอแนวทางการพัฒนา
ความซื่อตรงในสังคมไทย ซึ่งมีข้อค้นพบที่น่าสนใจว่า สังคมไทยขาด
ระบบปลูกฝังและส่งเสริมความซื่อตรงที่มีประสิทธิภาพ ขาดแบบอย่างที่ดี
ระบบการเรียนการสอนที่ไม่มุ่งเน้นความซื่อตรง ขาดการตรวจสอบการทำางาน
ของหน่วยงานรัฐ ขาดการสื่อสารเรื่องความซื่อตรงสู่สังคม เป็นต้น
(สถาบันพระปกเกล้า, 2555) ซึ่งผลจากการศึกษาดังกล่าว จึงได้มีการพัฒนา
ตัวแบบการขับเคลื่อนการเสริมสร้างความซื่อตรงในสถานศึกษาขึ้น
การเสริมสร้างความซื่อตรงแก่เยาวชนในสถานศึกษา เป็นพื้นที่หนึ่ง
ที่จะช่วยให้เกิดการเสริมสร้างวัฒนธรรมความซื่อตรง ที่ส่งเสริมต่อประชาธิปไตย
เพราะการปลูกฝังคุณธรรมด้านความซื่อตรงให้กับเยาวชน ผ่านกระบวนการ
มีส่วนร่วม โดยให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ถึงความหมายและขอบเขต ออกแบบ