Page 261 - kpiebook65066
P. 261

189






                                     1) ปญหา ที่มาของปญหา และผลกระทบจากปญหา โครงการสงเสริม และ
                       สนับสนุนการจัดการศึกษา เพื่อเพิ่มโอกาส และลดความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา สําหรับโรงเรียน
                       ประถมศึกษาขนาดเล็ก ในเขตเทศบาลเมืองลอมแรด (กรณีโรงเรียนบานเหลา สังกัด สพฐ.) (สนับสนุน
                       ศูนยการเรียนรู ICT ในสถานศึกษา เพื่อใหเด็กเขาถึงสื่อที่ทันสมัย) เทศบาลเมืองลอมแรด อําเภอเถิน

                       จังหวัดลําปาง มีที่มาอันเนื่องมาจากในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองลอมแรด มีโรงเรียนสังกัดสํานักงาน
                       คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จํานวน 6 โรงเรียน เปนโรงเรียนขนาดกลาง จํานวน 2 โรงเรียน
                       และโรงเรียนขนาดเล็กจํานวนจํานวน 4 โรงเรียน ซึ่งโรงเรียนขนาดเล็กมีแนวโนมที่จะถูกยุบ 2
                       โรงเรียน เนื่องจากผูบริหารสถานศึกษายายไปดํารงตําแหนงโรงเรียนแหงใหม และกําลังจะ

                       เกษียณอายุราชการในเดือนกันยายน 2565 อีกทั้งโรงเรียนยังขาดทรัพยากรในการจัดการเรียนการ
                       สอน มีขอจํากัดดานงบประมาณ ขาดขาราชการครู บุคลากร ลูกจางที่ทํางานดานการศึกษา ขาดวัสดุ
                       อุปกรณ สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยสําหรับครู และเด็ก รวมถึงสภาพครอบครัวของผูเรียนมีรายได
                       นอย เด็กไมไดอยูกับพอแม เปนตน

                                     จากปญหาที่กลาวมาขางตน หากโรงเรียนถูกยุบอาจสงผลกระทบตอเด็กนักเรียน
                       ครู และผูปกครอง ทั้งดานคุณภาพการศึกษา ดานเศรษฐกิจ ดานสังคม และดานอื่น ๆ เทศบาลเมือง
                       ลอมแรดในฐานะที่เปนองคกรปกครองสวนทองถิ่นรูปแบบหนึ่ง มีอํานาจหนาที่ตามพระราชบัญญัติ

                       เทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50 ที่ตองดําเนินการในเขตพื้นที่ของเทศบาล เพื่อประโยชนสุขของ
                       ประชาชน ทั้งดานการสงเสริม และพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผูสูงอายุ และผูพิการ ดานการสงเสริมให
                       ราษฎรไดรับการศึกษาอบรม และพระราชบัญญัติกําหนดแผน และขั้นตอนการกระจายอํานาจใหแก
                       องคกรปกครองสวนทองถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 ไดกําหนดใหเทศบาลมีอํานาจ และหนาที่ในการ
                       จัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชนของประชาชนในทองถิ่น ทั้งดานการจัดการศึกษา  ดาน

                       การสังคมสงเคราะห การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา ผูดอยโอกาส และพระราชบัญญัติ
                       การศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 41 องคกรปกครองสวนทองถิ่นมีสิทธิจัดการศึกษาในระดับ
                       ใดระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพรอม ความเหมาะสม และความตองการภายในทองถิ่น

                       เทศบาลเมืองลอมแรดจึงไดใหความสําคัญกับการสงเสริม และพัฒนาคุณภาพดานการศึกษาของเด็ก
                       เยาวชน และประชาชนในพื้นที่ แตเนื่องจากเทศบาลไมมีโรงเรียนในสังกัดจึงไดพิจารณาสมัครเขารวม
                       โครงการขับเคลื่อนองคกรปกครองสวนทองถิ่นใหเปนกลไกลดความเหลื่อมล้ําทางการศึกษารวมกับ
                       สถาบันพระปกเกลา เพื่อสงเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษา เพื่อเพิ่มโอกาส และลดความเหลื่อม

                       ล้ําทางการศึกษา สําหรับโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในเขตเทศบาลเมืองลอมแรด กรณีโรงเรียน
                       บานเหลา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเปนโรงเรียนนํารอง เพื่อจัดตั้งศูนยการ
                       เรียนรูพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารชุมชน (ICT)  ณ โรงเรียนบานเหลา เพื่อใหเด็ก
                       นักเรียนในโรงเรียนไดเรียนรู และเขาถึงสื่อเทคโนโลยีอยางเทาเทียมกับนักเรียนโรงเรียนอื่น สงเสริม

                       ใหครูไดใชเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาสื่อนวัตกรรมสําหรับการจัดการเรียนการสอน ใหมีคุณภาพ และให
                       เปนแหลงเรียนรูสําหรับเยาวชน ประชาชนในชุมชนไดใชเพื่อการประกอบอาชีพ และสรางรายได ทั้งนี้
                       เทศบาลเมืองลอมแรดไดทําบันทึกขอตกลงเพื่อใหความรวมมือกับโรงเรียนบานเหลา ในการแบงปน
                       ทรัพยากรเพื่อใชประโยชนรวมกัน การประชาสัมพันธ เผยแพรกิจกรรม แลกเปลี่ยนขอมูลขาวสาร

                       และการสนับสนุนการดําเนินงาน ตลอดจนการติดตามประเมินผลการดําเนินงานโครงการ
   256   257   258   259   260   261   262   263   264   265   266