Page 337 - kpiebook65063
P. 337
สินค้า อาหารที่มีคุณภาพ การแบ่งโซนสินค้า และการแต่งตั้งคณะกรรมการระดับย่อยของผู้ค้า
ในการดำเนินการร่วมกับเทศบาลเมืองทุ่งสง
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19 ผ่านความโปร่งใส และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงผลลัพธ์ที่เป็นผลเชิงประจักษ์
นอกจากนี้ ผลการดำเนินงานของโครงการ หลาดชุมทางทุ่งสงของเทศบาลเมืองทุ่งสง
อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราชสามารถสะท้อนถึงความสำเร็จของการดำเนินงาน
ที่สามารถนำทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นประยุกต์สู่การสร้างงาน สร้างรายได้ให้คนในท้องถิ่น
และนำไปสู่การสร้างการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจในระดับจุลภาคอย่างมีประสิทธิผล
โดยปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิดความสำเร็จและแนวทางการปฏิบัติงานที่ดีที่ได้ค้นพบจากการดำเนินงาน
(Good Practice) ประกอบไปด้วย 1) มิติการใช้แผนที่ทางวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือ ภายใต้
การพัฒนาชุมชนนำไปสู่การใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ในการกำหนดผังวัฒนธรรมเพื่อให้
เป็นพื้นที่การพัฒนามูลค่าทางวัฒนธรรม และกำหนดย่านวัฒนธรรมของเมืองและจัดทำโครงการ
เพื่อพัฒนาเมืองในแต่ละย่าน ให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ 2) มิติการสนับสนุนทางวิชาการ
มีการดำเนินงานโดยนำองค์ความรู้ภายในมหาวิทยาลัยสู่การพัฒนาชุมชนผ่านมหาวิทยาลัย
ศิลปากรและผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญในมิติต่าง ๆ เพื่อให้มีการดำเนินงานร่วมกัน และเพื่อให้มี
ความถูกต้องตามหลักวิชาการ 3) มิติผู้นำ ถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญต่อการกำหนดวิสัยทัศน์
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
ในการพัฒนาพื้นที่ การมองเห็นถึงความเป็นไป ในการพัฒนาชุมชน ยอมรับ และมีส่วนร่วม
ในการกำหนดกฎ กติกา อีกทั้งให้โอกาสการทำงานร่วมกันของหน่วยงานทุกภาคส่วน
4) มิติการทำกิจกรรมร่วมกัน รูปแบบการดำเนินกิจกรรมนำโดยเทศบาลร่วมกับภาคีเครือข่าย
และภาคประชาชน ร่วมคิด วางแผน ดำเนินการ ประเมินผล และนำไปสู่การเปิดตลาดวัฒนธรรม
ซึ่งมีการขับเคลื่อนทำงานโดยเครือข่ายทางวัฒนธรรม กองทุนทางวัฒนธรรม และมีการพัฒนา
พื้นที่อย่างต่อเนื่อง และ 5) มิติการสร้างระบบ Logistics ในอำเภอทุ่งสงที่สามารถรวบรวมสินค้า
และวัฒนธรรมภาคใต้ได้อย่างยั่งยืนตามเป้าหมายของโครงการเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
และสอดคล้องกับยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
2 สถาบันพระปกเกล้า