Page 340 - kpiebook65063
P. 340
เชิงพื้นที่มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของเทศบาลตำบลท่าสาป ที่กำหนดให้เปิดโอกาสให้
ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเทศบาลตำบลเพื่อกำหนดเป็นภาพแห่งความสำเร็จ
ที่ต้องการเกิดขึ้นในอนาคตที่อยู่บนพื้นฐานความเป็นไปได้และสามารถแก้ไขปัญหาเดือดร้อน
ของประชาชนได้อย่างแท้จริง นอกจากนั้นได้ร่วมกำหนดแนวทางการทำงานที่สามารถนำไปสู่
ความสำเร็จ โดยวิสัยทัศน์ของเทศบาลตำบลท่าสาป ได้แก่ “ตำบลก้าวหน้า การศึกษาก้าวไกล
ประชาชนมีรายได้ ใส่ใจวัฒนธรรมท้องถิ่น รักษ์สิ่งแวดล้อม” ภายใต้เป้าหมายหลักเพื่อสร้าง
ความสัมพันธ์ ความรัก ความสามัคคี สู่สันติสุขผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
ความเป็นมา
เริ่มต้นจากการสำรวจความคิดเห็นผ่านที่ประชุมประชาคมประชาชนของหมู่บ้านทั้งในมิติ
ของความพร้อม ความสมัครใจของคนในพื้นที่ พบว่าประชาชนมีมิติเห็นชอบให้มีการเปิดพื้นที่
ประกอบกับเริ่มมีความพร้อมในมิติสภาพจิตใจ นำไปสู่การปรับพื้นที่รกร้างบริเวณริมแม่น้ำปัตตานี
เพื่อเป็นจุดสำหรับการจัดกิจกรรม เนื่องจากมีจุดเด่นทางด้านสถาปัตยกรรม “ชิโนโปรตุกีส”
ที่อยู่คู่กับชุมชนท่าสาปตั้งแต่โบราณ ทั้งนี้นำไปสู่การเปิดพื้นที่โดยมีเป้าหมายเพื่อให้สามารถ
ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ได้สูงสุดหลังจากการปรับภูมิทัศน์โดยรอบ ทั้งนี้ยังคงธำรงไว้ซึ่งความสวยงาม
ของตึกโบราณเก่าแก่ จนนำไปสู่การตั้งเป้าหมายร่วมกันเพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมภาคกลางคืน
ที่เป็นสื่อหลักในการเปิดพื้นที่ระหว่างพี่น้องไทยมุสลิม ไทยพุทธ ที่อาศัยอยู่ร่วมกันมาอย่าง
ยาวนาน ต่างอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างที่หลากหลาย ทั้งวัฒนธรรม ประเพณี และการใช้ชีวิต
แต่คงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของชุมชน เพื่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี และความสมานฉันท์
ลดความขัดแย้งในพื้นที่ ซึ่งนำไปสู่การเสริมสร้างความสามัคคี เกิดสันติสุขได้อย่างยั่งยืนถาวร
ภายใต้นโยบายของเทศบาลที่มีเป้าหมายเพื่อมุ่งให้เกิดความรัก ความสามัคคีความสมานฉันท์
อีกทั้งมีเป้าหมายเพื่อลดความขัดแย้งและนำไปสู่การเสริมสร้างความสามัคคีเกิดสันติสุขอย่าง
ยั่งยืนและถาวร ผ่านนโยบายสร้างสังคมดีมีคุณภาพ ผ่านการขับเคลื่อนท่าสาปโมเดล วิถีท่าสาป ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
(THASAP Life) สู่ความเป็นหนึ่งเดียว ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สาธารณสุข การอาชีพ
และด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของคนท่าสาป ประกอบไปด้วย รวมถึง
การผสมผสานกลมกลืนภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม ที่ยังคงทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ภายใต้
แรงผลักของการพัฒนากระแสหลักเพื่อมุ่งเข้าถึงประเด็นและเข้าถึงพื้นที่เพื่อนำไปสู่การพัฒนา
เต็มระบบโดยใช้ระบบกลไกของการเป็นหุ้นส่วนและการมีส่วนร่วมการทำงานร่วมกัน และเพื่อให้
สอดคล้องกับนโยบายหลักที่มุ่งพัฒนาโมเดลท่าสาปสู่ความยั่งยืน
สถาบันพระปกเกล้า 29