Page 345 - kpiebook65063
P. 345

เป้าหมายหลักของการพัฒนาให้พื้นที่ท่าสาปเป็นพื้นที่แห่งการมีส่วนร่วม พื้นที่แห่ง

           ความสันติสุข สร้างความรักและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันของคนในชุมชน ภายใต้โมเดลการพัฒนา
           ที่ยั่งยืนอีกทั้งยังมีภาคีเครือข่ายจากภาครัฐ ภาคเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่าง ๆ จำนวนมาก
     ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19   เมืองต้นแบบแห่งการสร้างความสามัคคีภายใต้กิจกรรมที่มุ่งเน้นให้คนทุกกลุ่มวัยทั้งในพื้นที่
           เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนและสนับสนุนให้ท่าสาปเกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่การเป็น


           และนอกพื้นที่ได้มีโอกาสในการร่วมทำกิจกรรมในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นให้เกิด

           ความสามัคคี ปรองดอง และสมานฉันท์อย่างยั่งยืน สู่ขั้นตอนของการปฏิบัติ โดยมีการนำผลจาก
           การรับฟังปัญหา อุปสรรค และความต้องการของคนในพื้นที่ที่ต้องการให้ท่าสาปกลับคืนสู่

           ความปกติ ทุกฝ่ายต่างเสนอแนวทางและนำไปสู่การนำข้อมูลในชุมชนสู่การเปิดพื้นที่ท่าสาป
           ที่จากเดิมมีการปิดพื้นที่อย่างถาวร ที่เริ่มต้นจากกิจกรรมรวมพลังสร้างสุขภาพ เดิน - วิ่ง ยามเย็น
           รณรงค์ส่งเสริมการออกกำลังกายในประชาชน @ท่าสาป - ท่าแพ เทศบาลตำบลท่าสาป ร่วมกับ

           ภาคีเครือข่ายสุขภาพจังหวัดยะลา และขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องผ่านกิจกรรมเปิดพื้นที่สร้างสรรค์
           ด้วยสื่อพหุวัฒนธรรม ประเด็น “พหุวัฒนธรรม นำสันติสุข จังหวัดยะลา” รวมถึงกิจกรรมส่งเสริม

           การละเล่นพื้นบ้านเพื่อการเรียนรู้ที่หมุนเวียนกันตลอดทั้งปี โดยมี “ตลาดต้องชม” ที่มีการจัดขึ้น
           ในทุกวันเสาร์ ซึ่งที่มีจุดเด่น คือ มีการจัดกิจกรรมในภาคค่ำโดยที่คนในชุมชนมีส่วนร่วมในทุก
     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
           กระบวนการตั้งแต่การจัดงาน และการดำเนินงาน

                 ประชาชนในชุมชนตำบลท่าสาปเป็นตัวแปรหลักในการขับเคลื่อน ต่อมาได้การกลายเป็น
           พื้นที่ที่สามารถดึงดูดความสนใจจากความงดงามของพื้นที่ในยามค่ำคืน ที่ผนวกกับแสง สี เสียง

           ที่สมดุล อีกทั้งยังเป็นการคำนึงถึงความสะดวกของคนในพื้นที่เพื่อให้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ
           และยังเป็นพื้นที่ศูนย์กลางที่ให้ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมและทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต

           ประจำวัน เช่น การออกกำลังกาย การพูดคุยแลกเปลี่ยน ซึ่งนำไปสู่การสร้างความใกล้ชิด รวมถึง
           ความสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นระหว่างคนในชุมชนและนอกชุมชนได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้มีการตอบรับ
           เป็นอย่างดี และสะท้อนจากเหตุการณ์ที่มีสถิติที่ลดลงแทบจะไม่มีเหตุการณ์ และสามารถ

           ทำรายได้ให้เกิดขึ้นกับคนในพื้นที่ท่าสาปและพื้นที่ใกล้เคียงผ่านการประชาสัมพันธ์ผ่านทาง
           สื่อสังคมออนไลน์ เว็บไซต์ของเทศบาล รวมถึงการประชาสัมพันธ์ไปยังหน่วยงานต่าง ๆ จนนำไปสู่

           การสร้างพื้นที่และได้กลายเป็นจุดท่องเที่ยวที่สำคัญและที่สำคัญสามารถสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นกับ
           คนในพื้นที่ โดยสามารถประเมินได้จากการรวบรวมรายได้ของเทศบาลในเชิงประจักษ์ และยังเป็น
           พื้นที่ของการทำกิจกรรมของคนในชุมชนที่สามารถสร้างสันติสุขภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมได้อย่าง

           ยั่งยืน








               สถาบันพระปกเกล้า
   340   341   342   343   344   345   346   347   348   349   350