Page 348 - kpiebook65063
P. 348

มิติการมีส่วนร่วม สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของความสำเร็จที่มีภาคีเครือข่ายทุกมิติ

               ได้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่กระบวนการคิด วางแผน การออกแบบกิจกรรม (ต้นน้ำ) รวมถึง
               การเข้ามามีส่วนร่วมในระหว่างการดำเนินกิจกรรม มีการสนับสนุนส่งเสริมครอบคลุมทุกมิติ

               ซึ่งเป็นการรวมพลังอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิผลจากการดำเนินโรงการอย่างชัดเจน
               (กลางน้ำ) อีกทั้งยังมีการสานต่อกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันตามภารกิจที่เหมาะสมเพื่อเป็นการต่อยอด
               โดยใช้พื้นที่ “ตลาดต้องชม” เป็นพื้นที่ส่วนกลางในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ นำไปสู่ผลลัพธ์ระยะยาว

               ที่ส่งผลต่อคนในชุมชนเกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอย่างยั่งยืน (ปลายน้ำ)                  ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19

                     มิติการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ภายใต้การจัดโครงการได้สะท้อนให้เห็นผลการดำเนินงาน

               จากกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบมีการแต่งตั้งคณะกรรมกรรม รวมถึงคณะการทำงาน
               ภายใต้กิจกรรมเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ด้วยพหุวัฒนธรรม “ประเด็น พหุวัฒนธรรม นำสันติสุข

               จังหวัดยะลา” อีกทั้งมีการกำหนดรูปแบบการจัดกิจกรรมในลักษณะที่ชัดเจน “รูปแบบของ
               ถนนคนเดิน” คือ มีการออกร้านจำหน่ายสินค้า บูธ OTOP ของตำบลท่าสาป หน่วยงาน
               ภาคเครือข่ายต่าง ๆ รวมถึงพี่น้องประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง มีการประกวดการทำอาหารพื้นบ้าน

               การสาธิตต่าง ๆ เช่น สาธิตการทำอาหารพื้นบ้าน สาธิตการแกะหนังตะลุง (วายังกูเละ) สาธิต
               การทำลูกข่างไม้ (กาซิง) สาธิตการจักรสานไม้ไผ่ การทำว่าว (วาบูแล) สาธิตการวาดภาพ ฯลฯ

               ซึ่งจะดำเนินการในภาคกลางวัน ทั้งนี้ในส่วนของภาคกลางคืน มีการวางแผนเกี่ยวกับรูปแบบของ
               กิจกรรมไว้อย่างชัดเจนภายใต้การแสดงศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ เช่น หนังตะลุง มโนราห์ อานาซีด
               ดิเกบุตรี และการแสดงของกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเด็กและเยาวชน นักเรียนจากโรงเรียน

               ต่าง ๆ ทั้งนี้สามารถตอบเป้าหมายของโครงการได้อย่างมีประสิทธิผลทั้งในมิติของศิลปวัฒนธรรม
               ทางดนตรี การแสดงพื้นบ้านนำไปสู่การฟื้นฟู อนุรักษ์ สืบสาน และพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมชุมชน

               ตำบลท่าสาป อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา อีกทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ยังอยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์
               ท่าสาปโมเดลทั้ง 5 ด้าน เพื่อให้การพัฒนามีผลต่อเนื่องในทุกมิติและนำพาตำบลท่าสาปก้าวหน้า
               อย่างยั่งยืนต่อไป                                                                      ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19


                     นอกจากนี้ท่าสาปยังมีแนวทางการพัฒนาพื้นที่ในอนาคตในประเด็นเกี่ยวกับความต้องการ
               เพื่อพัฒนาพื้นที่ “บริเวณตลาดต้องชม” ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในจังหวัดยะลา

               รวมถึงมีแนวโน้มผลักดันให้เกิดการดำเนินการอย่างต่อเนื่องของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศแหล่ง
               ท่องเที่ยวเชิงชุมชน “ลูโบ๊ะดีแบ” ที่มีจุดเริ่มต้นจากเยาวชนในพื้นที่ที่ให้ความสำคัญกับเยาวชน

               กลุ่มเปราะบาง ซึ่งมีจุดเด่นเป็นธรรมชาติและบรรยากาศที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อ
               ต่อยอดสร้างอาชีพ สร้างรายได้ นอกจากนี้ยังมุ่งให้ความสำคัญกับเด็กและเยาวชนในประเด็น
               เกี่ยวกับคุณภาพชีวิต ความเครียด รวมถึงมีเป้าหมายมุ่งส่งเสริมการรับรู้พฤติกรรมเท่าทัน






                                                                              สถาบันพระปกเกล้า
   343   344   345   346   347   348   349   350   351   352   353