Page 349 - kpiebook65063
P. 349

สื่อออนไลน์ในอนาคต เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญของเด็กและเยาวชน และยังคงพัฒนาอย่าง

           ต่อเนื่องในประเด็นเกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ กลุ่มคนเปราะบาง ในอนาคต
           จะมีการส่งเสริมการสร้างอาชีพกับกลุ่มบุคคลเปราะบางและเปิดพื้นที่ ให้โอกาสอย่างต่อเนื่อง
     ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19   บทสรุป





                 การเปิดพื้นที่กิจกรรมเพื่อสร้างสันติสุขโดยกิจกรรมภาคกลางคืนของเทศบาลตำบลท่าสาป
           อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีเป้าหมายของการดำเนินโครงการ 1) เพื่อเปิดพื้นที่ส่วนกลางในการทำ

           กิจกรรมภายในชุมชน เนื่องจากบริบทของปรากฏการณ์การปิดพื้นที่ต่างคนต่างอยู่ ไม่กล้า
           ทำกิจกรรมนอกบ้าน อีกทั้งคนในพื้นที่เกิดความหวาดกลัวต่อกัน ทั้งในมิติของการพึ่งพาอาศัย
           ต่อกัน การพูดคุย และความสัมพันธ์ของคนในพื้นที่ตั้งแต่เกิดเหตุการความไม่สงบ 2) เพื่อขจัด

           ความขัดแย้งของคนในพื้นที่ 3) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันของคนในพื้นที่ ผ่านกระบวนการ
           รับฟังสภาพปัญหาและมีการแจงถึงผลลัพธ์ของการดำเนินงาน โดยคนในพื้นที่มีส่วนร่วมในทุก

           กระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกัน อีกทั้ง
           มุ่งเน้นการเพาะเมล็ดพันธุ์เยาวชนคนรุ่นใหม่ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดปี เพื่อให้เกิดความสันติสุข
           ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน
     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ

                 ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงกระบวนการดำเนินงานสามารถจำแนกผ่านวงจร PDCA สู่เป้าหมาย
           ที่กำหนด ประกอบไปด้วย 1) ขั้นวางแผนงานและกำหนดวิธีการ มีการดำเนินโครงการโดยเริ่มต้น

           จากเครือข่ายภายในชุมชนกลุ่มย่อย ๆ ที่ประกอบไปด้วย นายกเทศมนตรี คณะผู้บริหาร สมาชิก
           สภาเทศบาล พนักงานเทศบาลตำบล ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ประชาชนในพื้นที่
           รวมถึงภาคีเครือข่ายจากภาครัฐ ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมคิด ร่วมวางแผน

           ผ่านเวทีพูดคุยในชุมชน โดยมีเป้าหมายเพื่อต้องการแลกเปลี่ยนในประเด็นปัญหา อุปสรรค
           ความต้องการ และกำหนดรูปแบบของกิจกรรม โดยมีการดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องตั้งแต่

           พ.ศ. 2557 จนถึงปัจจุบัน 2) ขั้นปฏิบัติ เป็นการนำผลจากการรับฟังปัญหา อุปสรรค และ
           ความต้องการของคนในพื้นที่ที่ต้องการเปิดพื้นที่ท่าสาปให้กลับคืนสู่ความปกติ โดยการดำเนินการ
           ตามแผนการดำเนินการและเริ่มต้นจากกิจกรรมเล็ก ๆ เพื่อดึงดูดความสนใจจากคนในพื้นที่ เช่น

           กิจกรรมรวมพลังสร้างสุขภาพ เดิน - วิ่ง ยามเย็นรณรงค์ส่งเสริมการออกกำลังกาย จากนั้นต่อด้วย
           กิจกรรมเปิดพื้นที่สร้างสรรค์ด้วยสื่อพหุวัฒนธรรม, กิจกรรมส่งเสริมการละเล่นพื้นบ้าน และ

           พัฒนาพื้นที่ที่ถูกปิดให้เป็น “ตลาดต้องชม” ที่มีการจัดขึ้นในทุกวันเสาร์ ซึ่งที่มีจุดเด่นคือมีการจัด
           กิจกรรมในภาคค่ำ ที่คนในชุมชนมีส่วนร่วมในทุกกระบวนการตั้งแต่การจัดงาน การดำเนินงาน
           โดยมีคนในชุมชนเป็นคนขับเคลื่อน ทั้งยังเปิดเป็นพื้นที่ส่วนกลางให้คนในพื้นที่สามารถทำ





               สถาบันพระปกเกล้า
   344   345   346   347   348   349   350   351   352   353   354