Page 347 - kpiebook65063
P. 347

จากการดำเนินงาน จากโครงการการเปิดพื้นที่กิจกรรมเพื่อสร้างสันติสุขโดยกิจกรรมภาคกลางคืน

           ของเทศบาลตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยมีการขับเคลื่อนในมิติต่าง ๆ

     ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19   มีความเป็นภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านการสร้างอุดมการณ์ผ่านนโยบาย การทำงาน
                 มิติผู้นำ ผู้นำในมิตินี้ได้กล่าวสรุปรวมถึง นายกเทศมนตรีตำบลท่าสาป ผู้ใหญ่บ้าน
           ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาที่ต่างมีวิสัยทัศน์และมุ่งมั่นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในชุมชน



           ที่ใส่ใจคนในชุมชน มีการพิจารณาบริบทพื้นที่ให้สอดคล้องกับแนวทางการบริหารจัดการ อีกทั้ง
           ยังรับบทบาทในการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ และยึดมั่นในหลักการของ
           ความจริงใจ พัฒนาพื้นที่อย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และการลงมือทำเพื่อเป็นแบบอย่างให้กับคนใน

           ชุมชน ซึ่งได้สะท้อนผลออกมาในรูปแบบของความสำเร็จภายใต้การร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสำเร็จ
           ไปพร้อมกับคนในชุมชนสู่การสร้างความสัมพันธ์ ความรัก ความสามัคคี สู่สันติสุขผ่านกิจกรรม

           ต่าง ๆ ที่เกิดโดยมีพื้นที่ “ตลาดต้องชม” เป็นพื้นที่ศูนย์กลางที่สามารถใช้ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ
           อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี


                 มิติเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่ของเทศบาลในทุกส่วนงานต่างทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ร่วมเป็น
           ส่วนหนึ่งของกระบวนการดำเนินการและมีบทบาทหลักในการร่วมวางแผน เขียนรายงานเสนอ
           โครงการติดต่อประสานงาน รวมถึงรับบทหลักในการสื่อสารกับภาคีเครือข่าย รวมถึงมีหน้าที่หลัก
     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
           ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นตามเป้าหมายและสรุปผลการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ อย่าง
           เป็นมืออาชีพ ร่วมกับทุกภาคส่วน

                 มิติภาคีเครือข่าย ภาคีเครือข่ายในการดำเนินโครงการถือมีบทบาทสำคัญ ในการขับเคลื่อน

           กิจกรรมต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนที่เข้าเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงาน ทั้งสำนักงาน
           สาธารณสุขจังหวัดยะลา ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา

           กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลท่าสาป และบริษัทเอกชนในพื้นที่จำนวนมากที่เข้ามา
           มีบทบาทในการดำเนินโครงการทั้งในมิติของการวางแผนการดำเนินงาน การสนับสนุนตลอด
           การจัดกิจกรรม


                 มิติการสื่อสาร มิติของการสื่อสารเป็นตัวแปรสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาพื้นที่สู่ “ตลาด
           ต้องชม” ภายใต้การดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อต้องการสร้างการรับรู้ และพร้อมรับฟังปัญหา

           อุปสรรค รวมถึงความต้องการของคนในพื้นที่เพื่อนำไปสู่การวางแผนการดำเนินงานร่วมกันและ
           ร่วมกันคิดพัฒนารูปแบบกิจกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของคนในพื้นที่สูงสุดและเพื่อมุ่งให้เกิด

           ความรัก ความสามัคคี ความสมานฉันท์ อีกทั้งเพื่อลดความขัดแย้ง และนำไปสู่การเสริมสร้าง
           ความสามัคคี เกิดสันติสุขอย่างยั่งยืนและถาวร ผ่านกระบวนการที่ต่อเนื่องที่ทำให้คนในชุมชน
           ท่าสาปสามารถขับเคลื่อนโครงการสู่ความสำเร็จได้ในปัจจุบัน



               สถาบันพระปกเกล้า
   342   343   344   345   346   347   348   349   350   351   352