Page 336 - kpiebook65063
P. 336

ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน สร้างระบบการพัฒนาเมือง ทั้งนี้มีการดำเนินงานภายใต้ “โครงการ

               หลาดชุมทางทุ่งสง” ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ในมิติของการสร้างความสามารถ
               ในการแข่งขันภายใต้ความหลากหลาย รวมถึงในมิติของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม

               บนพื้นฐานธรรมะ ธรรมชาติ และศิลปวัฒนธรรม ผ่านกระบวนการส่งเสริมศาสนา ศิลปะ
               และวัฒนธรรม ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs)
               นำไปสู่การขจัดความยากจน สร้างคุณค่าและการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ โดนมีเป้าหมายเพื่อ

               ลดความเหลื่อมล้ำผ่านการสร้างความร่วมมือของภาคีเครือข่ายในรูปแบบของหลาดชุมทางทุ่งสง     ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19

                     ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงกระบวนการดำเนินงานสามารถจำแนกผ่านวงจร PDCA สู่เป้าหมาย

               ที่กำหนด ประกอบไปด้วย 1) ขั้นวางแผนงานและกำหนดวิธีการ มีการวิเคราะห์แก้ไขปัญหาของ
               เศรษฐกิจใหม่ โดยใช้หลักการจัดการทุนวัฒนธรรม ที่มีการกำหนดรูปแบบการพัฒนาเมืองด้วยทุน

               ทางวัฒนธรรม ค้นหาทุน และขยายแนวคิดการนำวัฒนธรรมจากคุณค่าให้เกิดเป็นรูปธรรม รวมถึง
               มุ่งสร้างรายได้ให้กับคนทุ่งสง โดยใช้หลักการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมบรูณาการอย่างแท้จริง
               ที่ครอบคลุมบริบท โดยนำทุนวัฒนธรรมของชุมชนเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสร้าง

               คุณค่า และสร้างมูลค่าเพิ่มในมิติเศรษฐกิจผ่านหลาดชุมทางทุ่งสง โดยมีกระบวนการดำเนินงาน
               ประกอบไปด้วย 1) การริเริ่มโครงการโดยภาคประชาสังคม 2) ประชาคมวัฒนธรรมอำเภอทุ่งสง

               ศึกษาดูงาน 3) การประชุมสร้างกติการ่วมในการตัดสินใจดำเนินการ 4) สร้างภาคีเครือข่าย
               ร่วมดำเนินการ และ 5) การประเมินผลโครงการจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 2) ขั้นปฏิบัติ เทศบาล
               เมืองทุ่งสงได้เริ่มดำเนินการในขั้นตอนของการศึกษาดูงานการบริหารจัดการตลาดที่ประสบ

               ความสำเร็จ และนำไปสู่การประชุมประชาคม ภาคีเครือข่าย กว่า 90 หน่วยงานร่วมกับเทศบาล
               เมืองทุ่งสงในการจัดพื้นที่กิจกรรม วางผัง จัดแบ่งโซนพื้นที่ กำหนดข้อตกลงข้อปฏิบัติของผู้ค้า

               การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ การประกาศเชิญชวนประชาสัมพันธ์ตลาด และ
               การดำเนินการเปิดตลาดทุกวันอาทิตย์ และมีการจัดประชุมประชาคมระดมความคิดเห็น
               ในการพัฒนาตลาดอย่างต่อเนื่อง และ 3) ขั้นตรวจสอบและปรับปรุง ภายใต้การดำเนินโครงการ      ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19

               มีขับเคลื่อนโดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคีเครือข่าย และเทศบาล
               ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผน ติดตาม และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และมีการนำข้อมูลไปใช้

               สำหรับการปรับปรุงแก้ไขพัฒนาหลาดชุมทางทุ่งสงทั้งในมิติของการให้ข้อมูลข่าวสาร, การปรึกษา
               หารือ, การใช้กลไกขับเคลื่อน โดยเทศบาลเมืองทุ่งสงเป็นศูนย์กลางประสานงาน, การสร้าง
               ความร่วมมือ ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ, การเสริมอำนาจให้กับประชาชนในมิติของการมีส่วนร่วม

               ทั้งนี้มีการนำข้อมูลที่ได้รับจากผลการประเมินสู่การวางแผนแก้ไขปัญหาโดยผ่านเวทีประชาคม
               และคณะกรรมการ เช่น การควบคุมตามข้อปฏิบัติของผู้ค้าในตลาดชุมทาง การควบคุมคุณภาพ







                                                                              สถาบันพระปกเกล้า    2
   331   332   333   334   335   336   337   338   339   340   341