Page 332 - kpiebook65063
P. 332
จากภาพสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนความสำเร็จของโครงการ อันเป็นผลลัพธ์ใน
การดำเนินงานที่เห็นถึงความสำเร็จของการดำเนินงานทั้งในมิติของผลลัพธ์ ผลกระทบ และ
ผลสัมฤทธิ์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนรวมถึง
ผลลัพธ์ที่เป็นผลเชิงประจักษ์และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ทั้งนี้เพื่อนำทุนทาง
วัฒนธรรมท้องถิ่นสู่การสร้างงาน สร้างรายได้เพื่อให้คนในชุมชนสามารถพัฒนาไปสู่การสร้าง
การหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจในระดับจุลภาคที่มีจุดเริ่มต้นการผลิตตั้งแต่ในระดับครัวเรือน
และมีการใช้ทรัพยากรภายในชุมชน ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
การสำรวจข้อมูลร้านค้า จำนวน 200 ร้าน มีรายได้รวม 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2561
ถึง วันที่ 11 เมษายน 2564) รวมเป็นเงิน 70,669,012 บาท และจำนวนประชาชนที่เดินทาง
เข้ามาในพื้นที่โดยมีเป้าหมายเพื่อเที่ยวในหลาดชุมชน จำนวนกว่า 395,750 คน เพื่อมุ่งพัฒนา
ศักยภาพทางวัฒนธรรมให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญในมิติของ
การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่มีจุดเริ่มต้นจากการพัฒนาย่านเศรษฐกิจวัฒนธรรม
สร้างสรรค์ที่นำไปสู่การสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ เช่น (1) พัฒนาพื้นที่ย่านเศรษฐกิจ
วัฒนธรรมสร้างสรรค์ความยาวประมาณ 350 เมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ต่อเนื่องจากตลาดวัฒนธรรมคือ
“หลาดชานชลา” (2) การอบรมการออกแบบผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม (3) ปรับปรุงผลิตภัณฑ์์ท้องถิ่น
เมืองทุ่งสง (4) จัดทำป้ายทศพิธราชธรรม ฯลฯ เพื่อสามารถบูรณาการความร่วมมือจากทุก
ภาคส่วน สร้างระบบการพัฒนาเมืองด้วยทุนทางวัฒนธรรม และนำไปสู่การเพิ่มการมีส่วนร่วมของ
ประชาชนผ่านการจัดการวัฒนธรรม เกิดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ
ในพื้นที่กองทุนทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น ซึ่งเกิดจากรายได้จากการจัดกิจกรรมหลาดชุมทางทุ่งสง
มาใช้ในการบริหารจัดการให้เกิดความคล่องตัว โดยผู้ค้ามีส่วนร่วมสนับสนุนทุกสัปดาห์ ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
สถาบันพระปกเกล้า 21