Page 327 - kpiebook65063
P. 327

หลักฐานทางโบราณคดีมีกำเนิดมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 เป็นอย่างน้อย จากประวัติ

           อันยาวนานแห่งนครศรีธรรมราช ได้ปรากฏชื่อในที่ต่าง ๆ เช่น ตามพรลิงค์มัทธาลิงค์คม เกศวร
           โฮลิง เชียะโทว้โลแค็ก (Locac) สิริธรรม นครศรีธรรมราช ลิกอร์ (Ligor) ละครคิวตูตอน
     ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19   2551) เรื่องราวความเป็นประวัติศาสตร์ของนครศรีธรรมราชและความเจริญรุ่งเมื่อในอดีตก็นำสู่
           สุวรรณปุระ ปาฏลีบุตร (Pataliputra) และเมืองนคร เป็นต้น (สำนักงานจังหวัดนครศรีธรรมราช,


           การเจริญเติบโตของบ้านเมืองในปัจจุบันที่มีให้เห็นผ่านเรื่องราวการบริหารจัดการที่เป็นธรรม

           ให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกันเป็นสิ่งที่สืบเนื่องกันมาผ่านทรัพยากรอันล้ำค่า
           ของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ได้สะท้อนผ่านคำขวัญประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช “เราชาว

           นครฯ อยู่เมืองพระ มั่นอยู่ในสัจจะ ศีลธรรม กอปรกรรมดี มีมานะ พากเพียร ไม่เบียดเบียน
           ทำอันตรายผู้ใด” ทรัพยากรอันทรงคุณค่าในพื้นที่กระจายอยู่ในพื้นที่ 23 อำเภอ 165 ตำบล
           1,551 หมู่บ้าน ที่กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช หนึ่งในพื้นที่ที่กล่าวถึงนี้ก็คือ

           อำเภอทุ่งสง หรือเทศบาลเมืองทุ่งสง

                 เทศบาลเมืองทุ่งสง เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ตำบลปากแพรก อำเภอทุ่งสง จังหวัด

           นครศรีธรรมราช ตำแหน่งที่ตั้งของทุ่งสงเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่ดี กล่าวคือ อยู่กึ่งกลางคาบสมุทร
           มีเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างทะเลอ่าวไทย กับ ทะเลอันดามัน ทำให้ทุ่งสงจึงเป็นส่วนหนึ่งของ
     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
           เส้นทางการค้าข้ามคาบสมุทร ในสมัยอาณาจักรตามพรลิงค์ และสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราช
           หลักฐานที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน คือ ร่องรอยชุมชนโบราณที่ได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรม
           อินเดียที่ตำบลหนองหงส์ สันนิษฐานว่าเส้นทางคาบสมุทรเส้นนี้เริ่มต้นจากปากแม่น้ำกันตัง

           กองเรือ สินค้าที่มาจากอินเดีย ลังกา หรือชาวตรัง จะล่องเรือเข้ามาตามแม่น้ำกันตัง ผ่านมาทาง
           คลองท่าหลวง เข้าคลองวังหีบ คลองท่าเลา คลองท่าโหลน ขึ้นบกที่บริเวณวัดชัยชุมพลเมืองทุ่งสง

           แล้วเดินทางเท้าเข้าอำเภอร่อนพิบูลย์ข้ามคลองเสาธง เข้าสู่เมืองนครศรีธรรมราช

                 นอกจากนี้ทุ่งสงยังเป็นสถานีชุมทางใหญ่ เป็นจุดรวมและจุดจ่ายรถไฟ แยกไปส่วนต่าง ๆ

           ของภาคใต้ แน่นอนว่าการขนส่งสินค้าในอดีตนั้นไม่กล่าวถึงเส้นทางรถไฟนั้นคงไม่ได้ การเดินทาง
           ที่รถไฟผ่านไม่ว่าจะเป็นชุมชนต่าง ๆ ของไทย ในอดีตล้วนแล้วแต่มีความเจริญทางเศรษฐกิจ
           และสังคมแทบทั้งสิ้น การเป็นชุมทางรถไฟนี้ทำให้จุดศูนย์กลางของเมืองที่เคยอยู่บริเวณตลาด

           ในได้ถูกโยกย้าย ลัดลอดไปอยู่ริมทางรถไฟและบริเวณโดยรอบนอกจากนี้ เมืองทุ่งสงยังเป็นชุมชน
           ที่มีแนวโน้มการขยายตัวสูงประกอบกับการเป็นศูนย์กลางของความเจริญแห่งหนึ่งของจังหวัด

           เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเมืองจากปัจจัยด้านการคมนาคม โดยริเริ่มก่อตัวจากการเป็น
           ชุมทางการคมนาคมขนส่งทางรถไฟ ซึ่งมีผลให้เกิดการค้าและการบริการอื่นตามมาอีกมากมาย







         1     สถาบันพระปกเกล้า
   322   323   324   325   326   327   328   329   330   331   332