Page 322 - kpiebook65063
P. 322
ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น
ความสำเร็จและแนวทางการปฏิบัติงานที่ดีที่ได้ค้นพบจากการดำเนินงานสู่ผลลัพธ์ในด้าน
ต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ ชุมชนร่วมกันบริหารจัดการเองทั้งหมด เกิดช่องทางสำหรับ
การซื้อ ขาย ที่สะดวกและปลอดภัย ลดปริมาณขยะในชุมชน การเกิดการรักษาความปลอดภัย
ชุมชน (Smart Market Community Security) ด้านเศรษฐกิจ เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจ
ชุมชน และสร้างงาน สร้างและกระจายรายได้ และเกิดการจ้างงานในชุมชน เศรษฐกิจในพื้นที่
ชุมชนก็จะเกิดการหมุนเวียนที่ได้ประโยชน์ร่วมกันอย่างมีส่วนร่วมกันทุกภาคส่วน และด้านสังคม ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนและสมาชิกในครอบครัว คนพิการที่ถือว่าเป็นกลุ่มเปราะบาง
ทางสังคมได้รับความดูแลจากชุมชน เกิดการเอื้อเฟื้อในผลประโยชน์ที่ร่วมกันดำเนินการ รวมถึง
จัดสรรสวัสดิการขั้นพื้นฐานที่จำเป็นให้แก่กลุ่มที่ต้องการของชุมชน
ขณะที่ผลกระทบที่ได้จากโครงการ Smart Market ส่งผลให้ ผู้นำชุมชนเข้มแข็ง อันได้แก่
ประธานชุมชน และกรรมการชุมชน มีส่วนร่วมมากขึ้น รวมถึงการเกิดการหมุนเวียน
ด้านเศรษฐกิจชุมชน ส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชน มีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง
คนในชุมชน และพื้นที่ใกล้เคียงผ่านการซื้อขายสินค้าในตลาดชุมชนสิริสุข และการสร้าง
ความสัมพันธ์ที่ดีในครัวเรือน ทั้งยังสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีความเอื้ออาทร
ซึ่งกันและกัน ที่จะลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่สำคัญประชาชนในชุมชน
เองเป็นทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย ในเวลาเดียวกัน และพ่อค้า แม่ค้า มีความเข้มแข็ง และพัฒนาคุณภาพสินค้า
เพื่อรองรับฐานลูกค้าประจำ
ส่วนผลสัมฤทธิ์ ที่ได้นั้นเป็นเครื่องตอกย้ำความสำเร็จที่เป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเกิดนวัตกรรม
ทางสังคม Community Connect ต้นแบบการบริหารจัดการชุมชนผ่านแอปพลิเคชันไลน์ โดยมี
ตัวแทนของครัวเรือนทุกครัวเรือนเป็นสมาชิก หรือจะเกิดการลดช่องว่างระหว่างผู้สูงอายุ รวมถึง
ชุมชนสามารถใช้นวัตกรรมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความทันสมัย และมีความน่าอยู่ ปลอดภัย ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
ขณะที่หน่วยงานภาครัฐ เช่น เทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานี เป็นท้องถิ่นที่มีการพัฒนาคุณภาพชีวิต
และมีนโยบายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ทำให้มีการพัฒนาที่สอดคล้องกับ
การพัฒนาตามแนวทางของ SDGs การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) เพื่อขจัด
ความยากจน ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ลดความไม่เสมอภาค และทำให้เมือง
และการตั้งถิ่นฐานครอบคลุมความปลอดภัย มีภูมิต้านทางที่ยั่งยืน ทั้งนี้ ตามแนวทางของ SDGs
มองว่าความยากจนเป็นอุปสรรคสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากส่งผลกระทบ
ในระยะยาวต่อการพัฒนาทุนมนุษย์และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ซึ่งความยากจนไม่เพียงแต่หมายถึงความขัดสนทางด้านรายได้ในการดำรงชีพเท่านั้น
สถาบันพระปกเกล้า 11