Page 324 - kpiebook65063
P. 324

บทสรุป

                     Smart Market คุณภาพชีวิตดี 4.0 ของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง จังหวัด

               สุราษฎร์ธานี มีเป้าหมายของการดำเนินโครงการเพื่อ 1) การส่งเสริมอาชีพของผู้สูงอายุ และ
               ผู้ว่างงานให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 2) การสร้างกลุ่มอาชีพใหม่ให้เกิดขึ้นในชุมชน เพื่อสร้างรายได้

               โดยไม่จำเป็นจำเป็นต้องออกไปรับจ้างภายนอกชุมชน 3) การสร้างกลุ่มตลาดออนไลน์เพื่อซื้อขาย
               สินค้าในวงกว้าง 4) การสร้างเครือข่ายจำหน่ายสินค้าระหว่างชุมชน และ 5) สามารถสร้าง
               นวัตกรรรมเพื่อต่อยอดการจัดส่ง ซื้อขาย สินค้าทั่วประเทศทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงกระบวนการ  ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19

               ดำเนินงานสามารถจำแนกผ่านวงจร PDCA สู่เป้าหมายที่กำหนด ประกอบไปด้วย 1) ขั้นวางแผน
               งานและกำหนดวิธีการ ที่นำประเด็นปัญหาภายในชุมชนมาวิเคราะห์ร่วมกันทั้งในมิติของเศรษฐกิจ

               สังคม สิ่งแวดล้อม และภาคการเกษตร รวมถึงการดำรงชีวิตในสถานการณ์โครโควิด – 19 จากนั้น
               มีการจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งกลุ่ม สร้างตกลงกฎ กติกา ระหว่างผู้ซื้อ
               ผู้ขาย ในการขายสินค้าในกลุ่มออนไลน์ของตลาดสิริสุข Smart Market โดยมีการประชุมเพื่อ

               ขยายพื้นที่ตลาดออนไลน์ และนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมไลน์ของตลาดสิริสุข Smart Market
               2) ขั้นปฏิบัติ โครงการ “Smart Market คุณภาพชีวิตดี 4.0” มีการจัดตั้งขึ้นจากการมีส่วนร่วม

               ของประชาชนชุมชน ทั้ง 5 มิติ ได้แก่ การร่วมคิด การร่วมวางแผน การร่วมตัดสินใจ การร่วม
               ดำเนินการ และการร่วมรับผลประโยชน์ ซึ่งการดำเนินงานอยู่ภายใต้การนำหลักธรรมาภิบาล
               มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงาน โดยที่มุ่งเน้นการทำงานอย่างมี “นิติธรรม คุณธรรม โปร่งใส

               มีส่วนร่วม สำนึกรับผิดชอบ และคุ้มค่า” และ 3) ขั้นตรวจสอบและปรับปรุง ภายใต้การดำเนิน
               โครงการมีการวัดรายได้ครัวเรือนก่อนและหลังการเกิดโครงการ Smart Market โดยพบว่ารายได้

               เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ยังเป็นตัวเสริมสำคัญในการลดช่องว่างความเลื่อมล้ำของคนในชุมชน นำไปสู่การจัด
               กิจกรรมชุมชนเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชน พร้อมกับมีการรักษาความปลอดภัย
               ภายในชุมชน ทั้งนี้ผลจากการพัฒนาแอปพลิเคชันส่งผลทำให้สามารถรองรับสมาชิกเพิ่มขึ้น และ    ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19

               สามารถขยายเขตพื้นที่ในการซื้อ ขายสินค้าของชุมชน สุดท้ายนำไปสู่การปรับปรุงแอปพลิเคชัน
               เพื่อให้สามารถรองรับสมาชิกเพิ่มขึ้นและขยายตลาดไปสู่พื้นที่ใกล้เคียงอย่างต่อเนื่อง


                     นอกจากนี้ ผลการดำเนินงานของโครงการ Smart Market ส่งผลให้ประชาชนชุมชนสิริสุข
               มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น คุณภาพชีวิติดีขึ้นตามลำดับ เกิดการปรับตัวด้านการดำรงชีพในสถาการณ์

               โควิด -19 อีกทั้งสามารถลดช่องว่างของความเลื่อมล้ำของคนในชุมชน รวมถึงสามารถเพิ่ม
               การกระจายรายได้ของชุมชน และขยายพื้นที่ตลาดไปสู่เขตพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งสามารถสังเคราะห์
               เกี่ยวกับปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิดความสำเร็จและแนวทางการปฏิบัติงานที่ดีที่ได้ค้นพบจาก

               การดำเนินงาน (Good Practice) ประกอบไปด้วย 1) มิติผลลัพธ์ ที่สะท้อนให้เห็นถึงการบริหาร





                                                                              สถาบันพระปกเกล้า    1
   319   320   321   322   323   324   325   326   327   328   329