Page 320 - kpiebook65063
P. 320
ความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนและสมาชิกในครอบครัว ยังคงให้ความสำคัญกับคนพิการ
โดยชุมชนในลักษณะการพึ่งพาอาศัยกันและกันในชุมชนผ่านการดูแลเอาใจใส่ รวมถึงมีระบบ
สวัสดิการขั้นพื้นฐานรองรับ นั่นคือเส้นทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในขุมชนทุกมิติ
ซึ่งสะท้อนให้เห็นชัดเกี่ยวกับผลระยะยาวที่ชุมชนสามารถจัดการตนเอง โดยให้ความสำคัญกับ
คุณภาพชีวิตดีขึ้นของคนในชุมชนที่สอดรับกับการปรับตัวในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่สามารถ
พยากรณ์ล่วงหน้าได้ และสถาการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยมิได้คาดคิด พร้อมกันนี้ยังให้
ความสำคัญกับการลดช่องว่างความเลื่อมล้ำของคนในชุมชน โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการกระจาย
รายได้ของชุมชน และขยายพื้นที่ตลาดไปสู่เขตพื้นที่ใกล้เคียงผ่านกลไกต่าง ๆ ที่เริ่มต้นจากชุมชน ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
เพื่อชุมชน โดยขับเคลื่อนผ่านคนในชุมชนที่ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลลัพธ์ โดยคำนึงถึงคุณภาพ
ชีวิตและความยั่งยืน
การสะท้อนผ่านจากจุดก่อนตัวในการขับเคลื่อนงานพัฒนาสู่วิสัยทัศน์อันจะนำไปสู่
การจัดการกับข้อมูลโดยคนในชุมชน แน่นอนว่าไม่เพียงแต่การมีระบบคิด หรือแบบแผน แนวทาง
ปฏิบัติที่ดีเพียงอย่างเดียว ชุมชนยังให้ความสำคัญกับ การตรวจสอบและปรับปรุง ผลจาก
การดำเนินงาน เนื่องจากกระบวนการดำเนินงานถือเป็นกลไกสำคัญในการสร้างรายได้ในระดับ
ครัวเรือน ดังนั้น การตรวจสอบและปรับปรุงเพื่อให้เกิดประสิทธิผลที่สูงขึ้น ได้กลายเป็น
หัวใจสำคัญของการพัฒนาครั้งนี้ คือ นวัตกรรมแอปพลิเคชัน ซึ่งมีการปรับแก้ให้เกิดประสิทธิผล
และให้สามารถรองรับจำนวนสมาชิกที่สูงขึ้นได้ตอบโจทย์ความต้องการ และสามารถขยายเขต
พื้นที่ในการซื้อ ขายสินค้าของชุมชน สุดท้ายนำไปสู่การปรับปรุงแอปพลิเคชันเพื่อให้สามารถ
รองรับสมาชิกเพิ่มขึ้นและขยายตลาดไปสู่พื้นที่ใกล้เคียงอย่างต่อเนื่อง
ความขับเคลื่อนงานของชุมชนร่วมกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกิดขึ้นได้กลายเป็น
ผลผลิต และผลลัพธ์ ของการดำเนินงานของโครงการ Smart Market ประชาชนชุมชนสิริสุข
ที่สร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้น และคุณภาพชีวิติที่ดีขึ้นตามลำดับ ประชาชนเกิดการปรับตัวด้านการดำรงชีพ ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
ภายใต้สถานการณ์ โควิด -19 ทั้งนี้ การส่งเสริมให้เกิดระบบกลไก เพื่อลดช่องว่างแห่งความเลื่อมล้ำ
ของคนในชุมชน โดยมุ่งเน้นให้เกิดและเพิ่มการกระจายรายได้ของชุมชน ผสมผสานการดำเนินงาน
หลายภาคส่วน ร่วมคิด และลงมือทำภายใต้หลักการเดียวกัน อีกทั้งเพื่อต้องการขยายพื้นที่ตลาด
ไปสู่เขตพื้นที่ใกล้เคียงนำไปสู่การเปิดโอกาสทางการค้าที่ผนวกกับการแผ่ขยายระบบกลไก
ที่สอดรับกับการลดความเหลื่อมล่ำภายใต้สถานการณ์การปรับตัวที่สามารถดำเนินการได้ในบริบท
ที่แตกต่างอย่างยั่งยืน ชุมชนได้เปิดรับโอกาส และจัดการร่วมกันอย่างลงตัวผ่านระบบกลไกของ
ชุมชน อีกทั้งยังสามารถรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ชุมชน วิถีปฏิบัติเดิม เพียงสอดแทรกวิธีคิดแบบใหม่
เพื่อให้ชุมชนเดินต่อได้ภายใต้สภาวะการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ตลอดเวลา ถึงแม้ว่า
สถาบันพระปกเกล้า 09