Page 315 - kpiebook65063
P. 315

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) คณะกรรมการชุมชนได้มีการจัดตั้งกลุ่มไลน์

           “ตลาดชุมชนสิริศุข” ขึ้น ก่อนเชิญกลุ่มแม่ค้าในชุมชนเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มไลน์นี้ รวมทั้ง
           กลุ่มผู้บริโภคที่สนใจเข้าร่วม เพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการซื้อขายสินค้าออนไลน์ผ่านทางไลน์กลุ่ม
     ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19   ให้แก่สมาชิกในชุมชน ลดการว่างงานสร้างรายได้ สร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง แต่ด้วยข้อจำกัด
           “ตลาดชุมชนสิริศุข” ซึ่งสินค้ามีทั้งอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องอุปโภคบริโภค และบริการต่าง ๆ


           ของสมาชิกกลุ่มไลน์ตลาดชุมชนที่เข้าร่วมได้เพียง 500 คน ไม่สอดคล้องกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น

           อย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้การขายสินค้าออนไลน์เป็นไปตามความต้องการ
           ของสมาชิก จึงร่วมกันเปิดตลาดแบบ Open Chat สามารถรองรับจำนวนสมาชิกได้ไม่จำกัด

           และเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ต่อมากองสวัสดิการสังคมได้มีการสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนา
           ชุมชนเข้มแข็งและได้มีการประกวดชุมชนคุณภาพชีวิตดี 4.0 ขึ้นในปี พ.ศ. 2562 ปรากฏว่าชุมชน
           สิริศุข ได้รับรางวัลชนะเลิศในการนำเสนอโครงการ ตลาดนัดชุมชนสิริศุข และเมื่อไลน์ตลาดนัด

           ชุมชนสิริศุขมีความแออัดชุมชนจึงได้สร้างกลุ่มไลน์แบบ Open Chat ขึ้น กองสวัสดิการสังคม
           จึงแนะนำให้ใช้ชื่อที่สามารถสื่อสารได้ตรงไปตรงมาชื่อว่า “สิริสุข Smart Market” ปัจจุบันระบบ

           การขายผ่านไลน์ตลาดชุมชนสิริศุข เปิดโอกาสให้สมาชิกในชุมชนข้างเคียงสามารถสั่งซื้อสินค้า
           และบริการผ่าน “Smart Market” ได้ เป็นการสร้างรายได้แก่สมาชิกชุมชนข้างเคียง
           สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับสมาชิกชุมชนข้างเคียงเป็นพื้นฐานของชุมชนเข้มแข็งต่อไปได้
     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ

                 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 กลุ่มไลน์ Smart Market
           จึงช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจชุมชนให้สามารถเติบโตเคลื่อนไหว เป็นการสร้างเศรษฐกิจชุมชน

           ให้เข้มแข็งได้อย่างยั่งยืนแท้จริง โดยมีเป้าหมายของ Smart Market อยู่ 5 ประเด็น ได้แก่
           ประเด็นแรก ต้องการให้สมาชิกในชุมชนมีรายได้ในการเลี้ยงตนเองและครอบครัว ประเด็นที่สอง

           เป็นการสร้างอาชีพให้แก่สมาชิกในชุมชน ได้แก่ ผู้สูงอายุสามารถมีรายได้เสริม นักศึกษาในชุมชน
           สามารถค้าขายสร้างรายได้ระหว่างเรียน ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง และสตรีที่ว่างงาน
           ในชุมชนมีอาชีพเสริม ประเด็นที่สามเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกในครัวเรือน

           และชุมชนให้สามารถมีชีวิตตามถิ่นฐานที่อยู่ในเขตเมืองได้อย่างปลอดภัย และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
           ประเด็นที่สี่สำหรับสร้างเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง โดยการอุดหนุนสินค้า และผลผลิตทาง

           การเกษตรในชุมชนให้มีความยั่งยืน และประเด็นที่ห้าการสร้างเครือข่ายตลาดออนไลน์กับ
           เครือข่ายในการซื้อ ขาย และเปลี่ยนสินค้า ตลอดจนการเพิ่มมูลค่าทางการผลิตจากเกษตรกร
           ในครัวเรือน











         0     สถาบันพระปกเกล้า
   310   311   312   313   314   315   316   317   318   319   320