Page 314 - kpiebook65063
P. 314

ความเป็นมา

                     การขับเคลื่อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ขนาดใหญ่ของภาคใต้ หรือหากเรียก

               ด้วยสำเนียงพื้นถิ่นของชาวสุราษฎร์ฯ คือ ขนาดใย้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นน้ำเสียงที่สะท้อนความเป็น
               อัตลักษณ์พื้นถิ่นของคนในพื้นที่ที่ฟังคุ้นหูได้อย่างน่าสนใจ เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี

               มีสมรรถนะสูงในการบริหารจัดการชุมชนภายในบริบทพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการส่งเสริม
               การมีส่วนร่วมของประชาชน ผ่านแผนพัฒนาชุมชนที่ให้ความสำคัญกับการสร้างโอกาสและ
               ความเสมอภาคทางสังคม เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการตนเองเพื่อพัฒนา           ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19

               คุณภาพชีวิตให้เกิดความสมดุล และสังคมที่น่าอยู่ ขับเคลื่อนผ่านนโยบาย 9 นครต้นแบบ อาทิ
               นครเลิศรส นครสะอาด นครสะดวก นครน่าเที่ยว นครสุขภาพ นครมีสุข นครปลอดภัย นครของ

               โอกาส และนครประเพณีดีงาม อันนำไปสู่โครงการต่าง ๆ สู่การขับเคลื่อนตามเป้าหมายของ
               องค์กร ดังการสะท้อนกระบวนการดำเนินงานของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี


                     เจ้าหน้าที่ของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี สะท้อนว่าสิ่งสำคัญของกระบวนการดำเนินงาน
               อยู่ที่ “นโยบาย” เพราะจากนโยบายที่กำหนดสามารถนำไปสู่ความสำเร็จภายใต้การขับเคลื่อนงาน
               เพื่อมุ่งเน้นและส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ได้ต้องอาศัย การร่วมคิด

               ร่วมวางแผน ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ และร่วมรับผลประโยชน์ และหยิบยกนำหลัก
               ธรรมาภิบาลเป็นตัวแปรหลักของการดำเนินงาน พร้อมเปิดโอกาสให้คนในพื้นที่เพื่อต่อยอด

               การส่งเสริมอาชีพ ที่ชุมชนได้ขอสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี นำไปสู่
               การพัฒนาช่องทาง และการจำหน่ายสินค้า สำคัญไปกว่านั้นได้จัดตั้ง ตลาดนัดชุมชนสิริศุข ขึ้นโดย
               ไม่ได้ใช้งบประมาณจากทางราชการและชุมชน พร้อมทั้งขับเคลื่อนให้ตลาดนัดชุมชนสิริศุข

               เป็นส่วนหนึ่งในการประกวดชุมชนตามโครงการชุมชนเข้มแข็งคุณภาพดี 4.0 ของเทศบาลนคร
               สุราษฎร์ธานี และได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 ในลำดับต่อมา ทั้งนี้การขับเคลื่อนโครงการ

               มีการดำเนินงานผ่านกระบวนการวางแผนงานและกำหนดวิธีการ เป็นจุดเริ่มต้นโครงการ             ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
               ผ่านกลยุทธ์การวิเคราะห์ปัญหาชุมชนในมิติต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และ
               ภาคการเกษตร


                     ตลาดชุมชนในช่วงสถานการณ์โควิด 19 ถือเป็นกลยุทธ์ในการปรับตัวของประชาชน
               อันนำไปสู่การดำรงชีวิตประจำวันภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด – 19 ด้วยเหตุนี้

               จึงทำให้มองเห็นเส้นทางในการพัฒนารูปแบบการใช้ชีวิตแบบปกติใหม่ (New Normal)
               ของชุมชน ทั้งนี้ชุมชนสิริศุขได้มีการนำเทคโนโลยีการสื่อสารระบบไลน์แบบเครือข่ายในชุมชน
               เพื่อเป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์ข่าวสารภายในชุมชนและช่องทางการช่วยเหลือสมาชิกในด้าน

               ต่าง ๆ เบื้องต้นก่อนถึงเทศบาล แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันประกอบกับการระบาดของ




                                                                              สถาบันพระปกเกล้า    0
   309   310   311   312   313   314   315   316   317   318   319