Page 316 - kpiebook65063
P. 316

กระบวนการการดำเนินงาน


                     กระบวนการการดำเนินงาน Smart Market เป็นวิถีที่เกิดจากคนในตลาดเป็นผู้ขับเคลื่อน

               งานให้เกิดกระบวนการอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยเริ่มจากการกำหนดกฎกติกาข้อตกลงร่วมกัน
               และข้อควรปฏิบัติในการใช้กลุ่มไลน์ชุมชนสิริศุข เพราะคณะกรรมการมีความเชื่อว่า ทุกคน

               อยู่ร่วมกันถ้อยทีถ้อยอาศัยกันแบ่งปันกันช่วยเหลือกันร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาให้กลุ่มไลน์ตลาด
               ของชุมชนเกิดความเข็มแข็งและสามารถเติบโตไปสู่ภายนอกได้ ท้ายที่สุดแล้วนั้นก็ทำให้ทุกคน
               มีอาชีพ มีรายได้อย่างยั่งยืนต่อไป ทั้งนี้การสะท้อนมุมมองความต้องการของพ่อค้า แม่ค้า และ  ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19

               ลูกค้าต่อการซื้อขาย ซึ่งการซื้อขายสินค้าในรูปแบบไลน์กลุ่ม Smart Market Open Chat
               บนสมาร์ทโฟนเพื่อให้เกิดนวัตกรรมชุมชน Smart Market ที่สามารถสร้างรายได้กับสมาชิก

               ในชุมชน และขับเคลื่อนระบบหมุนเวียนของเศรษฐกิจชุมชน นำไปสู่การสร้างกองทุนชุมชน
               รวมถึงมีระบบการรักษาความปลอดภัยชุมชน (Smart Market Community Security)


                     อย่างไรก็ตาม เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ได้ใช้กลไกการมีส่วนร่วมของประชาชน ร่วมกับ
               การประยุกต์ใช้ในหลักธรรมาภิบาลทำให้เกิดตลาดออนไลน์สิริศุข Smart Market ที่สมาชิก
               ต่างได้รับผลตอบแทน และคงไว้ได้ซึ่งความซื่อสัตย์สุจริตและจริงใจต่อกัน ทั้งนี้เทศบาลนคร

               สุราษฎร์ธานีได้ดำเนินการต่อยอด โดยให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะ สำหรับการพัฒนาด้วย
               ความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเริ่มต้นจากชุมชนร่วมกันศึกษา

               ความเป็นมา ปัญหาอุปสรรค และความต้องการ อันนำไปสู่การพัฒนาเป็นโครงการ “Smart
               Market คุณภาพชีวิตดี 4.0” อย่างเป็นธรรม โดยมีการประชุมเสนอแนะแนวทางในการบริหาร
               จัดการ รวมถึงกติกาที่เหมาะสมใน โครงการ “Smart Market คุณภาพชีวิตดี 4.0” นอกจากนี้

               มียังมีการสร้างความร่วมมือกันระหว่างสำนักสาธารณสุข ฯ และเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
               ในการให้ความสำคัญกับคุณภาพของสินค้า มีการสุ่มตรวจคุณภาพสินค้า การจัดการสิ่งแวดล้อม

               พร้อมให้คำแนะนำ เช่น การใช้ภาชนะ บรรจุภัณฑ์ เพื่อให้สามารถพัฒนาสินค้าและบริการ         ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
               อย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐาน และที่สำคัญชุมชนยังให้ความสำคัญกับการสร้างช่องทางแสดง
               ความคิดเห็น ความพึงพอใจในสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นกลไกในการตรวจสอบคุณภาพและ

               เป็นการยกระดับสินค้าและบริการ นำไปสู่ความเป็นสากลที่มีการบริหารจัดการโดยชุมชน

                     เมื่อกล่าวถึงผลลัพธ์แห่งความสำเร็จ แน่นอนว่าไม่สามารถมองข้ามกลไกและ

               แผนการทำงาน กลยุทธ์ต่าง ๆ ได้ ซึ่งโครงการ Smart Market: คุณภาพชีวิตดี 4.0 ของเทศบาล
               นครสุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้มี การวางแผนงานและกำหนดวิธีการ
               เป็นการวิเคราะห์ปัญหาของชุมชนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และภาคการเกษตร

               รวมถึงการดำรงชีวิตในสถานการณ์โควิด – 19 ผ่านความร่วมมือจากภาครัฐ ทั้งสำนักงาน




                                                                              สถาบันพระปกเกล้า    0
   311   312   313   314   315   316   317   318   319   320   321