Page 330 - kpiebook65063
P. 330
รูปภาพโครงการหลาดชุมทางทุ่งสงของเทศบาลเมืองทุ่งสง
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
กระบวนการดำเนินงาน
กระบวนการดำเนินงานโครงการหลาดชุมทางทุ่งสงเป็นนวัตกรรมที่เกิดจากการสร้าง
พลังประชาคม มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องผ่านการวิเคราะห์ผลการดำเนินการโครงการโดย
แบ่งรูปแบบการดำเนินงานออกเป็น มิติด้านวางแผนงานและกำหนดวิธีการ จากผลการวิเคราะห์
แก้ไขปัญหาของเศรษฐกิจใหม่ โดยใช้หลักการจัดการทุนวัฒนธรรม ที่มีการกำหนดรูปแบบ
การพัฒนาเมืองด้วยทุนทางวัฒนธรรม ค้นหาทุน และขยายแนวคิดการนำวัฒนธรรมจากคุณค่า
สู่มูลค่าให้เกิดเป็นรูปธรรม รวมถึงมุ่งสร้างรายได้ให้กับคนทุ่งสง โดยใช้หลักการพัฒนา
เชิงบรูณาการที่ครอบคลุมบริบทพื้นที่และมีการหยิบยกทุนทางวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือหลัก
ในการพัฒนาเมืองทุ่งสง โดยเพิ่มมูลค่าของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงพื้นที่ทาง
เศรษฐกิจผ่านการพัฒนาเป็นแผนที่ทางวัฒนธรรมซึ่งกลายเป็นเครื่องมือสำคัญของการพัฒนาพื้นที่
อย่างยั่งยืน โดยกำหนดพื้นที่แรกคือ หลาดชุมทางทุ่งสง ผ่านกระบวนการซึ่งอยู่ในมิติของ มิติด้าน
การปฏิบัติการ ที่เริ่มต้นหาต้นแบบการบริหารจัดการตลาดที่ประสบความสำเร็จเพื่อสร้าง
องค์ความรู้ จากนั้นนำไปสู่การการจัดพื้นที่กิจกรรม และวางแผนผังการพัฒนาพื้นที่รวมถึง
มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการและมีการจัดประชุมประชาคมระดมความคิดเห็น
ในการพัฒนาตลาด จากนั้นมีการสร้างภาคีเครือข่ายร่วมดำเนินการจำนวนกว่า 90 หน่วยงาน ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
ที่มีบทบาทในการสนับสนุน ประสานงาน กำหนด กฎ กติกาของหลาดชุมทางร่วมกับผู้ค้า
และบริหารจัดการหลาดชุมทางทุ่งสง
การดำเนินงานที่เกิดขึ้นนำไปสู่ มิติด้านตรวจสอบและปรับปรุง การดำเนินงานมีการดำเนินการ
โดยมุ่งเน้นผสมผสานการมีส่วนร่วมผ่านเวทีแลกเปลี่ยนและการสังเกตเพื่อตรวจสอบ ติดตามและ
ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ นำข้อมูลไปปรับใช้สำหรับการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนา
หลาดวัฒนธรรม “หลาดชุมทางทุ่งสง” ได้ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทุกระดับ
ตามระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งในมิติของ 1) การให้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้ทราบ
ข้อเท็จจริงและสร้างความเข้าใจกับประชาชนและนำเสนอให้บรรจุในแผนพัฒนาเทศบาล
สถาบันพระปกเกล้า 19