Page 333 - kpiebook65063
P. 333
นอกจากนี้ในมิติของงบประมาณส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลเมืองทุ่งสงและ
หน่วยงานราชการภาคส่วนต่าง ๆ ร่วมสมทบโดยมีคณะกรรมการประชาคมวัฒนธรรมอำเภอทุ่งสง
ใช้ในการบริหารจัดการหลาดชุมทางทุ่งสง มีการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย แจ้งต่อผู้เกี่ยวข้อง
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
ในทุกด้าน คือ การให้ความรู้ และการส่งเสริมในมิติของการปกป้อง การดูแลอนุรักษ์ รวมถึง
ทราบ และเทศบาลเมืองทุ่งสงมีลักษณะการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน
การปรึกษาหารือ การร่วมให้คำแนะนำ การร่วมตัดสินใจ การเป็นหุ้นส่วน การเจรจา การติดตาม
การตรวจสอบประเมินผล การขยายผล การจัดการด้วยตนเอง การสร้างเครือข่ายและการรวมตัว
วัฒนธรรม จนสามารถสร้างการมีส่วนร่วมเกิดเป็นประโยชน์กับเมืองทุ่งสงได้อย่างมีประสิทธิผล
ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น
ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้นได้สะท้อนชัดในมิติของความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจของครัวเรือนพบว่า
รายได้เสริมจากการจัดกิจกรรมเปิดพื้นที่ทางวัฒนธรรมเมืองทุ่งสง สามารถสร้างรายได้โดยเฉลี่ย
กว่าร้อยละ 31.09 เมื่อเทียบกับรายได้รวมทั้งหมด สามารถสะท้อนผลที่ชัดเจนจากประเด็นต่าง ๆ
โดนมีรายละเอียดที่สามารถยึดโยงกับความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจในมิติของรายได้ที่เพิ่มขึ้นและ
เกิดการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจพื้นที่ทางวัฒนธรรมเมืองทุ่งสง ซึ่งผลตอบแทนดังกล่าว
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
สะท้อนถึงความคุ้มค่าของภาครัฐในการใช่จ่ายลงไปยังชุมชนได้อย่างดี แม้ว่าจะได้รับผลกระทบ
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด - 19
ชุมชนมีการพัฒนาเกิดเป็นหลักสูตรท้องถิ่นในการอนุรักษ์ทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่น
โดยกำหนดให้โรงเรียนในสังกัดเทศบาล รวมทั้งสิ้น จำนวน 6 โรงเรียน เพื่อรวบรวมสืบสาน
วัฒนธรรมให้คงอยู่สืบไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1) นาฏมวยไทย โรงเรียนกีฬาเทศบาลเมืองทุ่งสง
2) รำวงเวียนครก โรงเรียนเทศบาลวัดชัยชุมพล 3) การแสดงลิเกป่า โรงเรียนมัธยมเทศบาล
วัดท่าแพ 4) รำมโนราห์ โรงเรียนเทศบาลบ้านนาเหนือ 5) การแสดงดนตรีไทย โรงเรียน
วัดโคกสะท้อน และ 6) การแสดงหนังตะลุงคน โรงเรียนอนุบาลรีสอร์ท ซึ่งปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิด
ความสำเร็จและแนวทางการปฏิบัติงานที่ดีที่ได้ค้นพบจากการดำเนินงานโดยมีต้นทุนทาง
วัฒนธรรม ทุนชุมชน รวมถึงนวัตกรรมชุมชนเป็นเครื่องมือสร้างและพัฒนาพลังประชาคมแบบมี
ส่วนร่วมด้วยทุนทางวัฒนธรรม การทำงานแบบมีส่วนร่วม และบทบาทขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นในการขับเคลื่อนผลักดันการมีส่วนร่วม รวมพลังทั้ง 3 ภาคส่วน จะเป็นประโยชน์
กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนที่จะนำไปสู่การประยุกต์ใช้ และเกิดการเรียนรู้ และมี
การมองไปในอนาคต ประชาชนรู้สึกว่าพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเห็นปัญหาที่ต้องแก้ไข
ความเข้มแข็งในการจัดการปัญหาต่าง ๆ ร่วมกัน และขยายผลกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม
22 สถาบันพระปกเกล้า