Page 339 - kpiebook65063
P. 339
ของผู้คนในพื้นที่ทั้งในมิติของวัฒนธรรม ศาสนา รวมถึงรูปแบบปฏิบัติการในชีวิตประจำวัน
ระหว่างพี่น้องไทยมุสลิม ไทยพุทธ ที่อาศัยอยู่ร่วมกันมาอย่างยาวนาน จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์
ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 ตำบลท่าสาป จังหวัดยะลา
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19 มีการลอบวางระเบิดในพื้นที่ การก่อกวนในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งส่งผลต่อการประกอบอาชีพ การทำ
เป็นหนึ่งในหลายพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทางตรง จากการที่มีพี่น้องไทยพุทธถูกลอบยิง รวมถึง
กิจกรรมต่าง ๆ ที่นำไปสู่การเกิดการเปลี่ยนแปลงภายใต้บริบทของสังคมแห่งความหวาดกลัว
ต่อกันของคนในพื้นที่ ทั้งในมิติของการพึ่งพาอาศัยต่อกัน การพูดคุย และความสัมพันธ์ของคนใน
พื้นที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม นำไปสู่ปรากฏการณ์การปิดพื้นที่ต่างคนต่างอยู่ ไม่กล้าทำกิจกรรม
นอกบ้าน
ตำบลท่าสาปมีพื้นที่ติดต่อกับเทศบาลนครยะลา อันเป็นชุมชนเมืองใหญ่ทำให้ความเจริญ
ด้านวัตถุได้ขยายเข้าสู่ตำบลในระดับหนึ่ง และสภาพความเป็นอยู่ของราษฎรยังเป็นสังคมชนบท
มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ราษฎรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามและมีความเคร่งครัดทาง
ศาสนาสภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นพื้นราบ มีทั้งหมด 6 หมู่บ้าน ประกอบด้วย บ้านท่าสาป
บ้านปายอ บ้านลิมุด บ้านสาคอ บ้านปือเราะ และบ้านก่ำปั่น มีแม่น้ำปัตตานีไหลผ่าน 5 หมู่บ้าน
คือ หมู่ที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 มีจำนวนประชากรในพื้นที่ตำบลท่าสาปทั้งหมด 8,203 คน เป็นผู้ชาย
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
4,086 คน เป็นผู้หญิง 4,117 คน รวมเป็น 1,718 ครัวเรือน (เทศบาลตำบลท่าสาป, 2564)
ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากดินมีคุณภาพดีและมีน้ำตลอดทั้งปี
พืชที่ปลูก ได้แก่ ยางพารา ผลไม้ ได้แก่ ทุเรียน ลองกอง โดยอาศัยแรงงานในครัวเรือนเป็นหลัก
คิดเป็นร้อยละ 64.94 ของประชากรในวัยแรงงานจากนี้บางส่วนของประชากรประกอบอาชีพ
ขายแรงงาน โดยไปรับจ้างตามโรงงานอุตสาหกรรมในเมืองหลวงหรือองค์กรธุรกิจอื่นในเขต
เทศบาลนครยะลา ส่วนสถานที่ท่องเที่ยง ตลาดท่าแพท่าสาป ชุมชนเมืองเก่า และทางเลียบแม่น้ำ
ปัตตานี ส่วนการรวมกลุ่มของประชาชน ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน กลุ่มแม่บ้าน ศูนย์สงเคราะห์ราษฎร
ชมรมสาธารณสุข เครือข่ายเยาวชนตำบล ชมรมตาดีกา ศูนย์กีฬาตำบล ศูนย์เยาวชนตำบล
ในบริบทพื้นที่ตำบลท่าสาป หมู่ที่ 1 ประชากร 100% เป็นพี่น้องไทยพุทธ หลังจาก
มีเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้น ภายในชุมชนได้มีการปิดกั้นหมู่บ้านโดยใช้แผงประตูเหล็กกั้น
และไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้า - ออก ภายในพื้นที่ตั้งแต่ เวลา 19:00 น. และเปิดอีกครั้ง
ในตอนเช้า เวลา 06:00 น. ส่งผลให้ภายในหมู่บ้านเป็นพื้นที่ปิดโดยปริยาย และจากปัญหา
ที่กล่าวมาข้างต้น ประกอบกับเวลาที่ล่วงเลยมากพอสมควรส่งผลทำให้เทศบาลตำบลท่าสาป
คณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น รวมถึงประชาชนในพื้นที่และภาคีเครือข่าย
ประชุมวางแผนร่วมกันภายใต้แนวคิดการคืนพื้นที่กลับสู่ความปกติ เพื่อให้การขับเคลื่อนกิจกรรม
2 สถาบันพระปกเกล้า