Page 208 - kpiebook65063
P. 208

ประชาชนเห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของผู้บริหารเทศบาลนครนครสวรรค์และเชื่อมั่นว่าเทศบาล

               มีกระบวนการทำงานอย่างโปร่งใส และในที่สุดประชาชนในพื้นที่ได้ให้ความร่วมมือในกิจกรรมของ
               เทศบาลมากขึ้น ส่งผลให้ทุกคนก้าวเข้าสู่การมีสุขภาพดีวิถีเทศบาล


                     โดยผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการพัฒนาเมืองสู่การเป็นเมืองผู้สูงอายุสุขภาพดีวิถีเทศบาล ได้แก่

                     1)  กลุ่มผู้สูงอายุติดสังคม เทศบาลนครนครสวรรค์ ตระหนักถึงคุณค่าของตนเองมากขึ้น

               และเชื่อมั่นว่าตนเองสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคมได้ โดยพิจารณาได้จากจำนวนผู้สูงอายุ
               ที่ยังแข็งแรงและมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ติดบ้าน และผู้สูงอายุที่ติดเตียง     ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19

               ด้วยการส่งมอบเครื่องอุปโภคและบริโภค อาทิ การบริจาคอาหารแห้ง วัสดุสิ้นเปลืองทาง
               การแพทย์ประเภทผ้าอ้อมผู้ใหญ่ แผ่นรองซับ ไม้เท้า เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมภายใต้โครงการทำให้
               ผู้สูงอายุเล็งเห็นถึงความสำคัญของกระบวนการ “เพื่อนช่วยเพื่อน” และเป็นกลไกที่ช่วยเหลือ

               เทศบาลในฐานะอาสาสมัครทดแทนอัตรากำลังของเทศบาลได้อีกทางหนึ่ง

                     นอกจากนั้น ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมของโรงเรียนสร้างสุขผู้สูงวัยมีสุขภาพกายและ
               สุขภาพจิตดีขึ้นและลดโอกาสการเจ็บป่วยลงได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคซึมเศร้า เนื่องจากได้เรียนรู้

               ผ่านกิจกรรมกลุ่มทำให้เสริมสร้างปัญญา พัฒนาอารมณ์ให้จิตใจคลายเหงาลงไปได้ และลดโอกาส
               การเป็นภาระให้แก่สมาชิกในครอบครัวของตนเอง เนื่องจากหลักสูตรของโรงเรียนเป็นหลักสูตร

               ที่เสริมสร้างทักษะการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุในทุกช่วงวัย

                     2)  กลุ่มติดบ้านติดเตียง เทศบาลนครนครสวรรค์ ดำเนินการจัดตั้งศูนย์พัฒนาคุณภาพ

               ชีวิตทั้ง 4 ศูนย์ เพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตเทศบาลฯ ทุกสิทธิการรักษา
               แต่งตั้งคณะกรรมการ LTC  จัดทำระเบียบการเบิกจ่ายงบประมาณการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อให้
               การดำเนินงานติดตามเยี่ยมผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงถูกต้อง ตรงระเบียบ มีความโปร่งใส สามารถ

               ตรวจสอบได้ และเพื่อพัฒนาให้บุคลากรมีความรู้ ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุฯ เป็นผู้จัดการ  ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
               ระบบผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง CM (Care Manager) จึงสรรหาบุคลากรที่มีคุณสมบัติตรงตาม

               หลักเกณฑ์เข้ารับการอบรมที่จัดขึ้นโดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งผู้จัดการระบบ
               ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงฯ มีหน้าที่คัดกรองและจำแนกผู้สูงอายุตามความสามารถในการทำกิจวัตร
               ประจำวันและนำมาจัดเป็นกลุ่มการดูแล โดยจะมีผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Care giver) CG

               ที่ได้รับการอบรมและพัฒนาทักษะการดูแลผู้สูงอายุจากกรมอนามัยฯ ติดตามดูแลผู้สูงอายุตาม
               กลุ่มผู้สูงอายุที่ได้รับมอบหมายภายใต้การสนับสนุนของผู้จัดการระบบผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงฯ

               และเบิกจ่ายงบประมาณในการดูแลผู้สูงอายุตามระเบียบการเบิกจ่ายงบประมาณการดูแลผู้สูงอายุ
               ตามกลุ่ม






                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   19
   203   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213